‘รมว.แรงาน’ แนะ 6 ข้อปฏิบัติสำหรับ‘ผู้ใช้แรงงาน’รับช่วงอากาศร้อนทะลุเดือด 40-43 องศา ป้องฮีทสโตรก
เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2567 ที่โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ กทม. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ "ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความปลอดภัยและชีวอนามัย" ถึงปัญหาสภาพอากาศว่า ในปัจจุบันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ขณะนี้อุณหภูมิประมาณ 40-43 องศาเซลเซียส ผู้ใช้แรงงานหากรู้สึกร้อนจนเกินไปให้พยายามจิบน้ำบ่อยๆ เวลาทํางานให้ใส่เสื้อผ้าสีอ่อนๆ และไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลายชั้น เพื่อให้การระบายความร้อนดีขึ้น และที่สำคัญเวลาออกไปทำงานควรจะอยู่กันเป็นกลุ่ม หากเกิดโรคลมแดด (ฮีทสโตรก) ขึ้นมาจะได้ช่วยเหลือกันได้ รวมทั้งต้องหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งในขณะที่แดดร้อนๆ เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกายไม่ให้ร้อนจนเกินไป
"อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ อย่าลืมเอาลูกๆ หลานๆ หรือเด็ก ทิ้งไว้ในรถในขณะที่รถจอดตากแดดเป็นเวลานาน จะเป็นอันตรายมาก เพราะเมื่อเกิดความร้อนมาก จะไม่มีอากาศ ทําให้เด็กไม่สามารถหายใจได้ ถือเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด และในช่วงอากาศร้อนอย่างนี้ต้องงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งต้องดูแลตัวเอง รักษาความสมดุลของร่างกาย จึงอยากจะให้เพื่อนๆ ผู้ใช้แรงงานช่วยกันปฏิบัติ เพื่อที่จะดูแลตัวเองได้" รมว.แรงงาน กล่าว
นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ขอฝากไปถึงเจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการ ควรจะดูแลผู้ใช้แรงงานในขณะทํางานในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัด ให้ทำงานในที่มีความเหมาะสม ถ้าหากอากศร้อนจนเกินไป ควรงดทำงานกลางแจ้ง หรือหากจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรติดตั้งพัดลมไอน้ำ เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิให้กับลูกจ้าง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี