ปัจจุบัน ตามท้องนา หรือ แหล่งน้ำธรรมชาติ สัตว์น้ำประเภท กบ หอย ปู ปลา เริ่มไม่มีให้จับรับประทาน เนื่องจากเวลาทำนา มีการใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นข้าวมาก ทำให้สัตว์น้ำต่างๆ เริ่มสูญพันธุ์ จึงต้องมีการเพาะเลี้ยงขึ้นมาป้อนตลาด สร้างรายได้เป็นอย่างดี
ที่บ้านโคกค่าย ต.ไก่คำ อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ จะพบเห็นชาวนาหันมาเพาะเลี้ยงลูกปลาขาย ทำเป็นฟาร์มและร้านจำหน่ายลูกปลา ริมถนนติดคลองชลประทาน ก่อนเข้าหมู่บ้านโคกค่าย เนื่องจากอาชีพทำนาปลูกข้าว มาพักหลัง ขายข้าวไม่คุ้มการลงทุน เกิดความท้อแท้ จึงมองหาแนวทางทำอาชีพใหม่ และพบเห็นแม่ค้าขายหมกปลา ขายดีมาก ใครๆ ก็ซื้อไปรับประทาน จึงเกิดความคิดที่ว่า น่าจะทดลองเพาะเลี้ยงลูกปลาขายป้อนตลาด เพื่อทำหมกปลา จากนั้นศึกษาทดลองทำ จนประสบความสำเร็จ โดยการแบ่งพื้นที่ทำนาบางส่วน เพื่อมีข้าวกินปีต่อปี และที่เหลือทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา กระทั่งปัจจุบัน กลายเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาเต็มรูปแบบ สร้างรายได้ดีมาก
สำหรับชาวนาบ้านโคกค่าย เริ่มเพาะเลี้ยงลูกปลาเมื่อปี 2546 โดยเริ่มแรก ด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งหนึ่ง ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จากนั้นนำไปซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลานิล ไน ตะเพียน นวลจันทร์ ดุก จำนวนหนึ่ง แล้วปล่อยปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ลงบ่อดินธรรมชาติ กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร บ่อใครบ่อมัน มีอยู่ 10 บ่อ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 ตัว คือ แม่พันธุ์ 1 ตัวต่อพ่อพันธุ์ 3 ตัวซึ่งปล่อยครั้งละ 1,000 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ประมาณ2-3 วัน จะเกิดลูกปลา ต่อมานำลูกปลาออกจากบ่อดิน ลงบ่อซีเมนต์ ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ซึ่งมีอยู่ 7 บ่อ ระหว่างที่พักในบ่อชีเมนต์ ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา ใช้เวลา 3 เดือน จับขายได้ ที่ผ่านมาจะมีพ่อค้าจาก จ.อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และ สปป.ลาว เข้ามาซื้อถึงที่นี่ คราวละ 40,000 -50,000 ตัว โดยจะนำไปปรุงอาหาร เรียกว่า หมกปลา ไปวางขายตามตลาดในภาคอีสานและ สปป.ลาว หรือนำไปเพาะเลี้ยงด้วย ซึ่งสร้างรายได้อย่างงดงาม
สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงประกอบด้วย รำอ่อน หาซื้อได้ตามโรงสีใกล้บ้าน ปลาป่น ไข่แดง จะเป็นไข่เป็ดไข่ไก่ก็ได้ ด้วยการบดผสมกันให้ปลากิน วันละ 2 ครั้ง คือเช้ากับเย็น ส่วนปัญหาอุปสรรคมีโรคที่มากับฤดูฝน คือ โรคปลาเหงือกแดง หรืออหิวาต์ปลา หากรักษาไม่ทัน จะระบาดปลาตายทั้งบ่อ มีหน่วยงานราชการให้คำแนะนำวิธีรักษา โดยใช้ยาผสมอาหารให้กิน ราวๆ 7 วัน ก็จะหาย
การเพาะเลี้ยงลูกปลาเป็นอาชีพท้าทายความสามารถอีกอาชีพหนึ่ง แม้จะลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง หากผ่านไปชุดแรกแล้ว ลูกปลาที่สมบูรณ์ต้องคัดเลือกไว้ เพื่อเป็น
พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในการเพาะเลี้ยงครั้งต่อไป ปัญหาอุปสรรคมีน้อย หากเกษตรกรสนใจ ทดลองทำดู รับรองไม่มีขาดทุน…
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี