ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร นำสื่อมวลชนดูงานพื้นที่ อ.น้ำพอง เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น นำโดย นายชยุต อนุสุริยา ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ จ.ขอนแก่น รักษาการแทนประชาสัมพันธ์ จ.ขอนแก่น นำคณะ สื่อมวลชนดูงานชมฝ่ายแกนดินซีเมนต์ บ้านคำแก่นคูนน้อย ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
นายชยุต อนุสุริยา ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนางานข่าวการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาสัมพันธ์ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรม เป็นโครงการ
ที่น่าสนใจ คือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน “โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. เขื่อนอุบลรัตน์” ซึ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความมั่นคงด้านการผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตขณะนี้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำเสร็จแล้ว มีกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ และเริ่มจ่ายกระแสไฟเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
นายมนูญ สิทธิศร วิศวกรระดับ 10 โรงไฟฟ้าน้ำพอง กล่าวว่า โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำใหญ่ที่สุดของ จ.ขอนแก่น ตามแผน GDP 2018 แผนพัฒนาระบบโรงไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งให้เพิ่มสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ อยู่ในแผนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เบื้องต้นเพิ่มกำลังผลิตรวมมากขึ้นเกือบ 2,700 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำขนาด 24 เมกะวัตต์ ซึ่งจะให้มีกำลังผลิตเท่ากับโรงไฟฟ้าเดิม คือโรงไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำคือ 24 เมกะวัตต์ ส่วนโซลาร์เซลล์ลอยน้ำมีกำลังผลิตอีก 24 เมกะวัตต์ ที่น่าสนใจโครงการนี้พิเศษกว่าที่อื่น เมื่อเทียบกับเขื่อนสิรินธร เพราะเป็นระบบไฮบริด คือมีแบตเตอรี่มาเสริมด้วย แบตเตอรี่มีกำลังขนาด 60 เมกะวัตต์ แบตเตอรี่ตัวนี้จะนำมาติดตั้งคู่กับโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ เพื่อรักษาเสถียรภาพให้การผลิตไฟฟ้า ในช่วงแสงแดดหมด หรือในช่วงกลางคืน ทำให้โซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ได้ จะหายไปชั่วขณะ แต่จะมีแบตเตอรี่มาช่วยเสริม เพื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่เขื่อนอุบลรัตน์ จะมีแผงอยู่ประมาณ 4 หมื่นกว่าเกือบ 5 หมื่นแผงในเฟสแรก ต่อไปจะมีเฟส 2 ซึ่งจะขยายไปเรื่อยๆ กฟผ.ยังมีโครงการที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำที่เขื่อนจุฬาภรณ์ด้วย และทุกเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ ก็จะอยู่ในแผนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ที่กำหนดไว้ใน PDP ข้อดีของโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ คือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานสะอาด บริสุทธิ์ แต่ยังมีข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์ คือถ้าไม่มีแสงอาทิตย์ ก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ และผลิตได้น้อย เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภทฟอสซิล กรณีโรงไฟฟ้าน้ำพอง โรงเดียวมีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 710 เมกะวัตต์ หากเทียบกับไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์แค่ 24 เมกะวัตต์ ต่างกันหลายเท่าตัว แต่ยังจำเป็นต้องสร้าง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็นนโยบายภาครัฐ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาของโซลาร์เซลล์เริ่มถูกลง แต่เสถียรภาพจะขึ้นอยู่กับอากาศ ซึ่งใช้พื้นที่น้อยมากแค่ 200-300 ไร่ เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ คือติดตั้งในมุมเอียงประมาณ 45 องศาจึงช่วยลดการระเหยของน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ได้ส่วนหนึ่ง เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิตพลังงานสีเขียวที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเฟสที่ 2 ต้องรอการอนุมัติโครงการจาก ครม.
สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ถือเป็นการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดภาวะโลกร้อน สอดรับกับเทรนด์พลังงานโลก พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี