นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดเผยว่า บทบาทภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ นอกเหนือจากการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้พลาดโอกาสทางการศึกษาแล้ว การประเมินเทียบระดับการศึกษา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการยกระดับการศึกษาของกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้
และประสบการณ์ในอาชีพให้สูงขึ้น โดยเป็นการยอมรับคุณค่าของผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนการประกอบอาชีพ โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นองค์รวมของบุคคล และเป็นการส่งเสริมให้บุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจากรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้มอบหมายให้สถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการเทียบระดับการศึกษาปีละ 2 ครั้งโดยสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ได้จัดส่งรายงานสรุปผลการเทียบระดับการศึกษา มายังกลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อดำเนินการรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และสรุปผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สรุปได้ ดังนี้ 1.จังหวัดที่มีผู้เข้ารับการประเมินฯ มีจำนวน 58 จังหวัด จากสถานศึกษาที่ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 853 แห่ง และจังหวัดที่ไม่มีผู้เข้าประเมินฯ จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก นครสวรรค์ พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สมุทรสงครามสิงห์บุรี อ่างทอง ตราด สระแก้ว ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ ยโสธร เลย และสุรินทร์
2.จำนวนผู้เข้าประเมินฯ-ระดับประถมศึกษา มีผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 160 คน ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 60.63-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 895 คน ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 756 คน คิดเป็นร้อยละ 66.15-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 1,919 คน ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 1,698 คน คิดเป็นร้อยละ 57.89รวมทั้ง 3 ระดับการศึกษา มีผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 2,974 คน ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษา จำนวน 2,593 คน คิดเป็นร้อยละ 87.19
3.อายุของผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี จำนวน 694 คน รองลงมามีอายุ 25-29 ปี จำนวน 593 คน
และอายุ 30-34 ปี จำนวน 418 คน ตามลำดับ และ 4.การประกอบอาชีพของผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด จำนวน 1,509 คน รองลงมาเป็นอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 537 คนและอาชีพอื่นๆ จำนวน 571 คนตามลำดับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี