นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เปิดเผยว่า ตามที่ จัดประกวดข้อเสนอโครงการเพื่อพัฒนาเมืองแห่งศิลปะ ปี 2567 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่การเป็นเมืองแห่งศิลปะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่ 3 จังหวัด เมืองแห่งศิลปะ ได้แก่ จ.กระบี่ เชียงราย และนครราชสีมา เพื่อนำโครงการมาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางวัฒนธรรมของแต่ละเมืองมาสร้างมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัด และประเทศอย่างยั่งยืน
โดยขณะนี้ ได้มีการพิจารณาตัดสินโครงการที่ได้รับรางวัลแล้ว จำนวน 18 โครงการ ดังนี้ จ.กระบี่ รางวัลชนะเลิศดีเด่น ได้แก่ โครงการศาสตร์ศิลป์โนรา มรดกทางภูมิปัญญา จากงาน Local สู่เลอค่า ร่วมสมัย โดย นายวิทวัส ค้าของ รางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้แก่ 1.โครงการนิทรรศการจิตรกรรม ตำนาน สืบสานเรือหัวโทง โดย นางอมรรัตน์ ลอเนอร์ 2.โครงการศิลปะเพื่อมวลชน โดย นายคีตการ แก้วเล็ก 3.โครงการจัดแสดงศิลปะร่วมสมัยริมเขื่อนหน้าเมืองกระบี่ : 3ART in Krabi โดย นายธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง
4.โครงการกระบี่อาร์ตวีค 2 : ศิลปะเพื่อโลก โดย นายพัฒนศิลป์ ชูทอง และ 5.โครงการทะเลนิยมโดย นายกฤษฎา กันณรงค์ จ.เชียงราย รางวัลชนะเลิศดีเด่น ได้แก่ โครงการทุกที่คือ แกลลอรี่ พัฒนาสถานประกอบการในจ.เชียงรายให้เป็นพื้นที่ทางเลือกสำหรับจัดแสดงศิลปะร่วมสมัย ไปจนถึงโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก กิจกรรมเวิร์กช็อปด้านศิลปะและที่พำนักศิลปินอย่างยั่งยืน โดย น.ส.กีรติ วุฒิสกุลชัย
รางวัลชมเชย ได้แก่ 1.โครงการแม่ลาว 6.3 โดยกลุ่มศิลปินแม่ลาว 2.โครงการบ่ม เบลนด์ ฟื้นฟูพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ สโมสรสำนักงานยาสูบเมืองเก่าเชียงราย โดยกลุ่ม Blend 3.โครงการออกแบบเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “กาดก้อมเมืองแก้วในม่านหมอก(ควัน)” โดยกลุ่ม Chiangrai Creative Common 4.โครงการสุดยอดบ้านศิลปินถิ่นเชียงราย .. สู่เมืองแห่งศิลปะยั่งยืน โดย สมาคมขัวศิลปะ และ 5.โครงการเชียงรายฟิล์มแลป โดย นางนภกานต์ บุญฑริก
จ.นครราชสีมา รางวัลชนะเลิศดีเด่น ได้แก่ โครงการ ศิลป์ ดิน สร้างสรรค์มูลค่า ผลผลิตทางวัฒนธรรม โดย นายนิมิต พิพิธกุล รางวัลชมเชย ได้แก่ 1.โครงการแรงบันดาลใจจากภาษาโคราชสู่การออกแบบคาแร็กเตอร์อาร์ตทอยด้วยวัสดุหัตถกรรมงานหล่อหินทรายจากภูมิปัญญาหนองโสน จ.นครราชสีมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับครูสอนศิลปะ โดย ผศ.เกรียงไกร ดวงขจร 2.โครงการการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย “ศิลป์อีสาน” ครั้งที่ 2 หัวข้อ ภาพลักษณ์โคราช ภาพลักษณ์อีสาน” โดย ผศ.ชยารัฐ จุลสุคนธ์
3.โครงการการแปรสีธรรมชาติจากขยะดอกไม้สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทักษะทางอาชีพและส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมใน จ.นครราชสีมา โดย น.ส.สิรินภา มิ่งขวัญ 4.โครงการอะซะจั๋นพิมาย : กำเนิดผู้สร้าง สร้างผู้เสพ โดย ภาคีอนุรักษ์เมืองพิมาย และ 5.โครงการนิทรรศการเล่าเรื่องแมวโคราชด้วยไฟดิจิทัล 3D Mapping Projection & Lighing โดย นางอิญชญา คำภาหล้า
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี