นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นำทีม สพฐ.ร่วมงาน “สพฐ.สัญจร รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร” จุดที่ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.มุกดาหารณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยมุกดาหาร ร่วมกับดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย และ ดร.ณรินทร์ ชำนาญดู ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ลงทะเบียนเข้ารับการแก้ไขหนี้สินกับ สพฐ. รวมถึงผู้ที่มีเงินเดือนเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 และผู้ที่มีความทุกข์จากการเป็นหนี้สินเข้าร่วมงาน
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.เร่งขับเคลื่อนนโยบายการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ ร่วมกับสถานีแก้หนี้ครูทั่วประเทศ เพื่อช่วยคลายทุกข์ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะทำให้ครูมีความสุขและช่วยให้สามารถทำหน้าที่ในการสร้างการเรียนรู้ที่มีความสุขแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านการเจรจาของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูบรรลุผลสำเร็จ โดยเฉพาะ ผอ.เขต ที่เป็นผู้นำของข้าราชการครูและบุคลากร เป็นผู้มีบทบาทหลักที่จะทำให้บุคลากรในสังกัดที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ได้รับการคลายทุกข์ และทำให้ทุกๆ คน ได้รับเงินเดือนเหลือมากกว่า 30% จริง เพื่อการครองชีพที่เหมาะสม
จากการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู พบว่ามีสหกรณ์ออมทรัพย์ฯที่มีผลต่างของอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 0.90 จนถึง 7.65 ซึ่งจากการวิเคราะห์ค่าบริหารจัดการเฉลี่ย ควรอยู่ที่ร้อยละเท่าไร แต่ไม่ควรต่างกันมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทและการบริหารจัดการเงินในสหกรณ์ นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับปัญหาหนี้บัตรเครดิตและหนี้นอกระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจิตของครู ผอ.สพท. ควรสร้างความตระหนักถึงปัญหาหนี้บัตรเครดิต โดยแนะนำให้ชำระเงินตามความสามารถและไม่เพิกเฉยต่อหนี้สิน ควรให้ความรู้เรื่องการเงินและการบริหารจัดการหนี้แก่ครู โดยเฉพาะครูผู้ช่วยที่มีประสบการณ์น้อย การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบควรเจรจาผ่อนชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย และประสานงานกับเจ้าหนี้ รวมถึงขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อสร้างสภาพคล่อง การสร้างวินัยทางการเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การอบรมและให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน จะช่วยให้ครูและบุคลากรฯมีทักษะในการจัดการหนี้สินและสร้างความมั่นคงทางการเงิน ควรติดต่อธนาคารเพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานกฎหมายและตำรวจในการเจรจากับเจ้าหนี้ร่วมด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี