ครม.มีมติเห็นชอบ 7 มาตรการ แก้ปัญหา“ปลาหมอคางดำ” ใช้งบประมาณ450 ล้านบาท มั่นใจบูรณาการภาครัฐ-ประชาชนได้ผล จบปัญหาปี 2570 ด้าน รมช.เกษตรฯ ไม่ปิดแนวคิดใช้“ไซยาไนด์”แต่ขอไตร่ตรอง หวั่นกระทบระบบนิเวศ
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงหลังเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุม ครม.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานมาตรการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ โดยมีการตั้งคณะทำงานมาแก้ไขปัญหา พร้อมเสนอร่างการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ 7 มาตรการ ทั้งระยะสั้น กลางและยาว
ด้าน นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขอบคุณ ครม.ที่เห็นชอบมาตรการที่กระทรวงเกษตรฯได้เสนอครม. 7 มาตรการ แก้ปัญหาปลาหมอคางดำด้วยวาจา และสัปดาห์หน้าจะเสนอด้วยเอกสาร ประกอบด้วย1.จำเป็นต้องกำจัดและนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศของไทยให้มากที่สุด2.มาตรการรอการกำจัด โดยต้องรอให้ปลาหมอคางดำลดลง หลังจากนั้นจะใช้วิธีธรรมชาติบำบัดโดยการปล่อยปลานักล่าลงไป อาทิ ปลากะพง ปลาอีกง ที่เราเชื่อว่าในช่วยเวลาที่เหมาะและพื้นที่ที่เราศึกษามาแล้ว โดยแต่ละพื้นที่จะใช้ปลานักล่าไม่เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้มากขึ้น
3.นำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปใช้เรื่องอื่นๆโดยตั้งเป้าภายในปีนี้จนถึงกลางปีหน้าเราจะจับให้ได้ไม่ต่ำกว่า 4 พันตัน หรือ 4ล้านกิโลกรัม
4.มาตรการเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปพื้นที่อื่น5.ทำความเข้าใจเรื่องการแพร่ระบาดกับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดที่มีการแพร่ระบาด6.ใช้การวิจัย นวัตกรรมเข้ามาช่วย เช่นการเหนี่ยวนำโครโมโซม จาก 2n เป็น 4n ซึ่งจะทำให้ปลาเป็นหมัน และเราจะใช้ฟิโรโมน หรือสารคัดหลั่งในการดึงดูดทางเพศ ในการนำแสง สีไปล่อให้ปลาหมอคางดำมารวมอยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจับและกำจัด ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการใช้แสงสีเขียวล่อปลาหมึก7.การฟื้นฟู กระทรวงเกษตรฯจะต้องไปศึกษาแหล่งน้ำที่เราพบปลาหมอคางดำ ในปัจจุบันมีปลา ปู กุ้ง หอย อะไรบ้างเพื่อเป็นข้อมูลให้กรมประมงเตรียมเพาะพันธุ์สัตว์เพื่อคืนระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ให้กลับมา
เมื่อถามว่า มีข้อเสนอนักวิชาการให้ใช้ไซยาไนด์ กำจัดปลาหมอคางดำนายอรรถกร กล่าวว่า ข้อเสนอนั้นมาจากนักวิชาการที่ไม่ได้อยู่สังกัดกระทรวงเกษตรฯ เราไม่ปิดโอกาสให้เสนอแนวความคิด แต่ในมาตรการต่างๆที่เราจะใช้ยาแรง ก่อนที่เราจะทำต้องติดและไตร่ตรองให้ดีก่อน เพราะสังคมไทยและระบบนิเวศจะได้รับผลกระทบจากมาตรการต่างๆที่เราออกไป ดังนั้นมาตรการหลักของเราคือทำงานร่วมกับชาวประมงที่ถือเป็นนักล่ามือหนึ่ง ส่วนมาตรการอื่นๆเราจะค่อยๆพิจารณาตามสถานการณ์ต่อไป
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมครม. ว่าแม้ปัญหาความหมอคางดำจะเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว และเป็นปัญหาที่คาราคาซังต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน แต่ละรัฐบาลถือว่าเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเอาใจใส่และมีความจริงจังในการแก้ปัญหา จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ที่ผ่านมาได้จัดการไปอย่างไรและจากนี้จะมีมาตรการอย่างไร ที่ผ่านมากรมประมงได้พยายามแก้ไขแล้วแต่เอาไม่อยู่ เพราะที่ผ่านมาขาดการบูรณาการกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ดังนั้นในรอบนี้จึงมีการเชิญนายกสมาคมประมง นายกสมาคมผู้เพาะพันธุ์ เลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและวางแผนในการแก้ไขปัญหา โดยตกผลึกเป็นมาตรการ 7 ข้อ ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งปัญหาปลาหมอคางดำจะจบสิ้นและหมดไปจริงๆในปี2570 โดยจากนี้จะค่อยๆ ลดไปตามลำดับ โดย รมช.เกษตรและสหกรณ์ยืนยันว่าได้ผลแน่นอน เพราะเป็นการตกผลึกระหว่างภาครัฐกับเอกช
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี