อีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการศึกษาไทย ที่ได้มีการร่วมพัฒนาหลักสูตรร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยกรุงเทพและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในการร่วมพัฒนาหลักสูตร AI Engineering & Entrepreneurship ที่มุ่งเน้นพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นนักวิศวกรรุ่นใหม่ ที่มีความถนัดทั้ง Technology และ Entrepreneur Spirit เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้วยทักษะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเทคโนโลยีชั้นสูง
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนของความพยายามที่ไม่เคยหยุดพัฒนาหลักสูตรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตนอกจากความรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสอง นักศึกษายังได้รับโอกาสไม่ว่าจะเป็น Education Pathway กับมหาวิทยาลัย Top 50 ทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนในการลงมือก่อตั้งบริษัทจริง ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นส่วนหนึ่งของ Holding Company ชั้นนำ
อ.ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา เพื่อเป็นการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพหรือการนำความรู้จากหลายศาสตร์มาผสมผสานกันให้เกิดความรู้ใหม่ การทำความร่วมมือที่เข้มแข็งครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง และการให้ประสบการณ์กับผู้เรียนในการศึกษาลงมือปฏิบัติเพื่อเน้นความเป็นมืออาชีพและพร้อมทำงานได้จริง เมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนสามารถกำหนดเส้นทางอาชีพ (Career path) พร้อมมีความรู้ใหม่ๆ จากการบูรณาการข้ามศาสตร์
ด้าน รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ในด้านหลักสูตร สจล. ได้มีการพัฒนาหลักสูตรโดยการเร่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญด้าน AI Engineering ซึ่งมีความสำคัญต่ออนาคตของการศึกษาเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัตินับเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่มีความสำคัญต่อความก้าวหน้าของระบบการศึกษาจึงมั่นใจได้ว่าหลักสูตรของเราสอดคล้องกับความต้องการแรงงานและทิศทางอุตสาหกรรมยุคใหม่
ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวเสริมว่าหลักสูตรด้านการเป็นผู้ประกอบการของ ม.กรุงเทพ ได้พัฒนาแนวคิดในการจัดเรียนการสอนจาก Babson Collegeเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ผนวกกับความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และการมีเครือข่ายกับ Acceleration Center ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะช่วยบ่มเพาะให้ผู้เรียนในหลักสูตรนี้ได้รับประสบการณ์จริง ซึ่งจะผลักดันให้บัณฑิตเป็น Engineer Entrepreneurship อย่างแท้จริง
โดยโปรแกรมปริญญาร่วมนี้ถือเป็น Role model ของการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ ที่ผสมผสานองค์ความรู้ที่เป็นจุดเเข็งของทั้งสองมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายถอดศาสตร์แห่งวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และการเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นทักษะสำคัญสู่การสร้างผู้นำที่เชี่ยวชาญด้าน AI ที่มีมุมมองและทักษะความเป็นผู้ประกอบกิจการ ซึ่งจะกลายเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้โตทันการแข่งขันและต้องการของโลกธุรกิจ
ทั้งนี้ STEM Education กำลังถูกบูรณาการความรู้สู่ Version ใหม่ สู่การเป็น STEM+EC (Entrepreneur & Creativity) ซึ่งส่งเสริม STEMECเป็นการประยุกต์ความสร้างสรรค์มาสร้าง Value ที่สามารถเพิ่มศักยภาพของนักศึกษาเป็นอย่างมาก นักศึกษาสามารถศึกษาเจาะลึกในอุตสาหกรรมเฉพาะทางได้ทั้งหมด 3 สาขาเฉพาะทางคือ สาขาที่ 1 : อุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาที่ 2 : อุตสาหกรรมดิจิทัลและ IoT และ สาขาที่ 3 : อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและโลจิสติกส์
สำหรับนักศึกษาที่เรียนจะได้รับทั้งประสบการณ์การบ่มเพาะจากองค์ความรู้ทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ ที่เน้นการลงมือทำจริงได้รับประสบการณ์จริงจากโจทย์จริงของโลกธุรกิจ และประสบการณ์ที่นักศึกษาจะได้รับในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งสองสามารถสร้างโอกาสทางอาชีพเมื่อเรียนจบหลักสูตรมากมาย อย่างเช่น การเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในเทคโนโลยีขั้นสูง, ผู้จัดการโครงการ, นักออกแบบนวัตกรรม, วิศวกร AI, วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง, โปรแกรมเมอร์ AI, ผู้เชี่ยวชาญ AI ด้านเทคโนโลยีอาหาร และผู้เชี่ยวชาญ AI ด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี