ชำแหละ 4 ข้อ!‘นักวิชาการสิ่งแวดล้อม’เปิดปม‘รง.สีเทา’จำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น
14 สิงหาคม 2567 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กดังนี้...
โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมากตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอ้างไม่รู้ ไม่ได้ติดตามตรวจสอบทั้งๆที่มีอำนาจตามพ.ร.บ.การสาธารณสุขพ.ศ.2535 เพราะอะไร
1.พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นกฎ หมายเกี่ยวกับการจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ ออกกฎหมายโดยกรมอนามัยผ่านคณะกรรมการสาธารณสุข แต่ไปกำหนดให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. เป็นผู้ไปดำเนินการระงับเหตุรำคาญตามมาตรา 25 ถึง 2
ขณะที่กรมอนามัยและคณะกรรม การสาธารณสุขทำหน้าที่เพียงแค่ให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น..ไม่เคยลงพื้นที่มาช่วยเหลืออะไร
ขณะที่มาตรา 8 กำหนดให้ เมื่อเกิดเหตุผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของอปท. อธิบดีกรมอนามัยสามารถแจ้งต่อผู้ว่าราชการจัง หวัดเพื่อสั่งการให้ให้นายแพทย์สาธารณ สุขจังหวัดไปดำเนินการแก้ไขปัญหา..แต่ที่ผ่านมากรมอนามัยไม่ค่อยทราบเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆจึงไม่เห็นสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดลงมาช่วยท้องถิ่นจัดการปัญหาการร้องเรียนหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด
2. ตามมาตรา 31-33 คณะกรรมการสาธารณสุขสามารถออกประกาศประเภทของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อให้ท้องถิ่นไปออกข้อบัญญัติกำกับดูแลสถานประกอบดังกล่าวซึ่งมีอยู่จำนวน142 ประ เภท ตั้งแต่กิจการรับสักยันต์ เลี้ยงหมูไปจนถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ โรงงานสารเคมี โรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม เป็นต้น เจ้าพนักงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในอบต.หรือเทศบาลมีไม่เกิน 5คน ไม่มีเครื่องมือตรวจวัด ตรวจสอบใดๆ พนักงานหลายคนเป็นพยาบาลไม่มีความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหรืออาชีวอนามัยความปลอดภัย จะไปตรวจสอบโรงงานที่ซับซ้อนได้อย่างไร?
3.การออกกฎหมายให้ท้องถิ่นต้องรับภาระตรวจสอบระงับเหตุรำคาญสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ หลายแห่งเป็นทุนสีเทาโดยที่คนออกกฎหมายไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยอย่างนี้ ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี เนื่องจากไม่มีความรู้ ไม่มีคนไปตรวจสอบและไม่มีเครื่องมือไปตรวจวัดอาจจะถูกประชาชนฟ้องศาลปกครองตามมาตรา157โทษละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้ เหตุการณ์ เช่น โรงงานวินโพรเสส จ.ระ ยอง โรงงานเอกอุทัย จ. อยุธยา โรงงานที่กลางดง โคราชหรือโรงงานแว๊กกาเบจ จ. ราชบุรี เป็นต้น กรมอนามัยจะอ้างทุกเวทีว่าไม่เกี่ยวเป็นเรื่องของท้องถิ่น..
ทั้งที่มีการตั้งกองกฎหมาย กองอนามัยฉุกเฉิน กองประเมินผลกระทบสุขภาพ กองอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพียงแค่ให้สุขศึกษา จัดอีเว้นท์ที่เห็นก็มี street food good health จัดแล้วก็จบกันไป
4.จากการพูดคุยในวงวิชาการ พ.ร.บ. การสาธารณสุข 2535 ควรจะต้องได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงซึ่งทำได้ 2วิธี คือเพิ่มบทบาทให้กรมอนามัยต้องลงพื้นที่ไปจัด การแก้ไขปัญหาด้วยตนเองโดยให้ความช่วยเหลือท้องถิ่นอย่างเต็มที่ดังเช่น กรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมทั้งจะต้องเป็นผู้ดำเนินคดีตามพ.ร.บ.การสาธารณสุขร่วมกับท้องถิ่นแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยด้วย ประเด็นที่ 2 อาจจะปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.การสาธารณสุขเป็น พรบ.อนามัยสิ่งแวดล้อมและมอบให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ) กระทรวงมหาดไทยไปดูแลแทนเพราะสังกัดกระทรวงมหาดไทยเช่นเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดูแลงบประมาณ และอัตรากำลังได้โดยตรง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี