วันที่ 21 สิงหาคม 2567 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า จัดความรู้แบบหนักๆ ให้กับเพื่อนธรณ์ตั้งแต่ตอนเช้า ภาพนี้แสดงความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ใน 3 เดือนหลังฟอกขาว ผมจะอธิบายทีละข้อ สังเกตจุดสีในภาพประกอบด้วยนะครับ
อย่างแรก น้ำเย็นแล้ว ปะการังฟอกขาวหายไปเยอะ จะเห็นเพียงสีขาวประปราย
ฟอกขาวตอนนี้ต่างจากตอนก่อน เมื่อเดือนพฤษภาคม ฟอกขาวหมายถึงแย่ แต่เดือนสิงหาคม ฟอกขาวหมายถึงมีโอกาสฟื้น เพราะที่เลวร้ายกว่าฟอกขาวคือปื้นสีดำ ปะการังตายแล้ว
อย่างสอง ปะการังฟอกขาวในแต่ละที่ตายไม่เท่ากัน สังเกตแนวคลื่น/น้ำไหลเข้า (ลูกศรแดง) จะเห็นว่ามาทางด้านบน ไหลผ่านแนวปะการังลงไปด้านล่าง เขตที่รับคลื่น น้ำหมุนเวียนดี น้ำไม่แช่/ไม่ร้อนจัด ทำให้ปะการังแถวนั้นตายน้อยกว่า ในเขตด้านในและด้านล่าง น้ำนิ่งสงบ เดิมทีเป็นที่อยู่ของปะการังจำนวนมาก แต่เมื่อน้ำร้อนผิดปรกติ ปะการังจึงแช่นาน จุดที่เคยเหมาะสมกลายเป็นจุดทำร้ายปะการังปะการังที่เราติดตามเป็นปะการังก้อนขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เมตร อายุเป็นร้อยปีขึ้นไป (ปะการังก้อนโตช้ามาก ปีละ 2-3 เซนติเมตร)ปะการังใหญ่แทบทุกก้อนในบริเวณนั้นตายหมด แสดงว่าแม้อยู่มานานผ่านมาทุกอย่าง แต่โลกเปลี่ยนรวดเร็วรุนแรงเพราะก๊าซเรือนกระจกจากมนุษย์ ปู่ทวดปะการังยังตาย ตายไปเยอะแค่ไหน ? ลองเทียบปื้นดำกับขนาดเรือเร็ว 24 ที่นั่ง คงพอบอกได้
อย่างสาม ความตายของปะการังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพราะสัตว์น้ำแต่ละกลุ่มมีพื้นที่อยู่อาศัยต่างกัน ปัจจัยต่างกันเมื่อปะการังน้ำนิ่งในพื้นที่หลบลมตายหมด สัตว์น้ำย่อมลดลง บางชนิดอาจหายไปเลยเพราะไม่มีปะการังแบบที่ชอบให้อาศัยจะเล่าประเด็นนี้ต่อไปในวันหน้า
อย่างสุดท้าย การทำมาหากินของพี่น้องจะเดือดร้อน ปรกติประมงพื้นบ้านเรือเล็กทำมาหากินในพื้นที่ลมสงบ ปะการังน้ำนิ่งช่วยทำให้สัตว์น้ำใกล้ๆ อุดมสมบูรณ์ ตอนนี้เหลือแต่ปะการังรับคลื่น เอาเรือจิ๋วไปวางอวนจับสัตว์น้ำตรงหัวคลื่นไม่ง่ายหรอก ยังรวมถึงการทำวิจัย ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เรือผมจอดที่จุดเดิมตลอด อ่าวเล็กน้ำนิ่งเอาโดรนขึ้นจากเรือได้สบาย พาเด็กๆ มาฝึกทำงานก็ง่ายเพราะทะเลเรียบกริบ ตอนนี้ปะการังรอบเรือตายหมดแล้ว หากอยากดูปะการังต่อ ต้องไปลุยที่หัวเกาะ จะจอดเรือยังไง ถึงจอดได้เรือก็โคลงจนโดรนตกน้ำป๋อม (ตอนขึ้นลงจากเรือ) แถมคลื่นตูมๆ อย่างนี้ใครจะกล้าส่งนิสิตลงไป ผมไม่เสี่ยงแน่ครับที่เล่ามาคงพอให้เพื่อนธรณ์ทราบถึงสถานการณ์และผลกระทบที่ตามมาจึงมาทะเลในทริปนี้ ในวันที่แทบไม่มีใครพูดถึงปะการังฟอกขาวอีกแล้ว แต่ช่วงสำคัญสุดของปะการังฟอกขาว ไม่ใช่ช่วงฟอกขาว เป็นช่วงหลังฟอกขาว 3-4 เดือนต่างหากเพราะจะเป็นตัวบอกว่าปะการังตาย/รอดมากน้อยแค่ไหน ? ทำไมตาย ทำไมรอด ?ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ ไม่เรียนรู้ตอนนี้ แล้วเรารู้อะไร ? จะวางแผนรับมือคราวหน้ายังไง ?โลกร้อนไม่ใช่เรื่องดราม่า ผ่านจุดพีคแล้วจบกันจุดพีคที่แท้จริงคือ the day after ครับ
โครงการติดตามปะการังระยะยาว จัดทำโดยคณะประมง/ปตท.สผ.
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี