วันที่ 26 สิงหาคม 2567 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สนทช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ณ เวลา 7.00 น. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.สุโขทัย (76 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ขอนแก่น (94 มม.) ภาคกลาง : จ.สิงห์บุรี (54 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (47 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (30 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (146 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 27 – 28 ส.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศเมียนมา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
การบริหารจัดการน้ำ : สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จ.สุโขทัย ปัจจุบันปริมาณน้ำจาก จ.แพร่ ได้ไหลลงมาถึง จ.สุโขทัย และเกิดสถานการณ์น้ำหลากใน 4 อ. ได้แก่ อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัยปัจจุบันปริมาณน้ำในแม่น้ำยม ที่ไหลผ่าน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนที่ตัวเมืองสุโขทัย ระดับน้ำแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังคงต่ำกว่ากำแพงป้องกันตลิ่ง
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเหนือ โดยการหน่วงน้ำไว้ที่เหนือประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก และใช้คลองหกบาท คลองยมน่าน แม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำน่าน ช่วยตัดยอดน้ำหลากก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสุโขทัย พร้อมควบคุมการระบายน้ำผ่าน ปตร.บ้านหาดสะพานจันทร์ลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 25 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เวียงชัย เชียงแสน ป่าแดด พญาเม็งราย แม่สาย แม่จัน เทิง เชียงของ เวียงแก่น เวียงป่าเป้า และขุนตาล) จ.น่าน (อ.เมืองฯ ปัว เวียงสา เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ้านหลวง ท่าวังผา นาน้อย เฉลิมพระเกียรติ และภูเพียง บ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน เชียงคำ และปง) จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง เมืองฯ สูงเม่น หนองม่วงไข่ และสอง) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วังโป่ง และชนแดน) และจ.นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง)
ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) 1)เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้ 1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำบริเวณ.จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสตูล 2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และ3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว แม่น้ำสาย แม่น้ำอิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
2.เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี