ลูกสาวอดีตทหารผ่านศึกโวยโรงพยาบาลชื่อดังในนนทบุรี โร่ร้องกระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบหลังถอดเครื่องช่วยหายใจนานเกือบครึ่งชั่วโมงทำพ่อเสียขีวิต
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 28 ส.ค.67 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อ.เมืองนนทบุรี นายอธิวัฒน์ สิริกังวาลวงศ์ ผู้ก่อตั้งเพจกล้าที่จะก้าว พร้อมด้วย น.ส.ทัชชภร หรือขวัญ แซ่โล้ว อายุ 41 ปี และพี่สาวสองคน เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้ตรวจสอบโรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง หลังเมื่อวันที่ 13 เม.ย.67 ช่วงเวลา 02.00 น. ลูกสาวได้ทำการย้ายพ่อจาก รพ.บางบัวทอง 2 เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พร้อม จึงต้องส่งไปที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่งใน อ.เมืองนนทบุรี ต่อมาวันที่ 28 มิ.ย.67 พยาบาลได้ถอดสายออกซิเจน พ่อออกนานเกินไปใช้เวลาเกือบ 30 นาทีทำให้พ่อหยุดหายใจจึงต้องทำการปั๊มหัวใจทันที แต่ไม่นำตัวพ่อส่ง ICU ลูกสาวจึงต้องไปพบผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ห้องทำงาน มีการสอบถามข้อมูลนานกว่า 4 ชั่วโมง ถึงจะนำพ่อส่งห้อง ICU ทำให้พ่อมีอาการทรุดหนักทันทีตาค้างปากคค้างจนทำให้พ่อเสียชีวิตลงในที่สุดในวันที่ 6 ก.ค.61 รวมระยะเวลาการรักษา 84 วันทางโรงพยาบาลไม่มีการชี้แจงใดๆ ให้ญาติทราบหรือออกมารับผิดชอบแต่อย่างใด
น.ส.ทัชชภร ลูกสาวผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า พ่อของตนอายุ 85 ปี เป็นอดีตทหารผ่านศึก ป่วยมีโรคประจำตัวป่วยมีโรคประจำตัวหลายโรค ใช้สิทธิ์ในการรักษาวันที่ 13 เม.ย.67 เวลา 22.00 น.พ่อมีอาการน้ำตาลขึ้นจากโรคเบากวานถึง 500 ตนจึงได้นำพ่อส่งโรงพยาบาลบางบัวทอง 2 แต่เนื่องด้วยอุปกรณ์ไม่พร้อมจึงได้ทำการย้ายพ่อเมื่อเวลา 02.00 น.ไปโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือครบกว่าโดยขณะนำส่งพ่อต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งใหม่นานหนึ่งเดือนครึ่งพ่ออาการดีขึ้น รู้สึกตัวแขนขาขยับได้
วันที่ 23 มิ.ย.67 ทางโรงพยาบาลชื่อดังได้แจ้งให้พ่อย้ายออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 25 มิ.ย.67 แต่เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลไม่ได้แจ้งว่าพ่อต้องใช้เครื่องหายใจตลอดเวลา และทางครอบครัวไม่ได้เตรียมเครรื่องไว้ที่บ้านจึงขอยืดระยะเวลาออกจากโรงพยาบาล ไปเป็นวันที่ 28 มิ.ย.67 เพื่อเตรียมอุปกรณ์ที่บ้านให้พร้อม จากนั้นทางโรงพยาบาลได้ย้ายพ่อพักที่แผนกอายุรกรรมชาย โดยที่ทางญาติไม่ทราบเรื่อง จนกระทั่งวันที่ 28 มิ.ย.ครอบครัวได้ไปรับพ่อออกจากโรงพยาบาล พบว่าพยาบาลกำลังพบว่าพยาบาลกำลังทำความสะอาดคอที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งพยาบาลใช้เวลาประมาณ 30 นาทีทางญาติได้ร้องเตือนว่าถอดเครื่องช่วยหายใจนานเกินไป แต่ทางพยาบาลไม่ได้สนใจ ในที่สุดพ่อก็หยุดหายใจ ทำให้ต้องมีการปั๊มหัวใจใช้เวลาประมาณ 25 นาที ชีพจรพ่อจึงกลับมา แต่ทำให้กน้าอกพ่อยุบ ตาค้าง ปากอ้าค้าง
น.ส.ทัชชภร กล่าวอีกว่า หลังจากพบอาการพ่อตนจึงขอให้ทางพยาบาลย้ายพ่อไปห้องกึ่งไอซียู แต่ได้รับการปฏิเสธทำให้ตนต้องไปร้องขอ ผอ. โรงพยาบาลให้ทำการย้ายพ่อไปรักษาที่ห้องไอซียู ผ่านไป 4 ชั่วโมง จึงมีการย้ายลงไปห้องไอซียู พอตนเข้าเยี่ยมพ่อที่ห้องกึ่งวิกฤติ พบว่าในแก้วปัสสาวะมีน้ำหนอง ด้านหลังของพ่อมีแผลกดทับเพิ่มขึ้นเป็น 10 แห่งและมีการเพิ่มยารักษาทางสายยางจำนวนหลายชนิด ต่อมาเวลา 22.00 น.วันที่ 28 มิ.ย.67 ทางโรงพยาบาลได้ติดต่อทางญาติเพื่อขออนุญาตอนุญาตเจาะเส้นเลือดดำเพื่อให้ยาและน้ำเกลือ โดยแจ้งว่าร่างกายพ่อไม่สามารถให้ยาทางจุดอื่นได้แล้วเพราะร่างกายไม่รับ นอกจากนี้ ตนยังพบว่าพ่อมีหนองในปาก ตัวบวม วันที่ 3 ก.ค.67 ทางโรงพยาบาลขอคุยกับญาติและให้สั่งเสียกับผู้ป่วย วันที่ 4 ก.ค.67 ร่างกายพ่อไม่รับอาหารต้องเปลี่ยนมาให้อาหารทางคอ วันที่ 6 ก.ค.67 พ่อเสียชีวิตเวลา 06.30 น.
น.ส.ทัชชภร กล่าวต่ออีกว่า ตนพยายามถามหาความรับผิดชอบมาตลอด ซึ่งทางโรงพยาบาลยอมรีบว่าพ่อขาดอากาศหายใจเมื่อวันที่ 23 ก.ค.67 แต่กลับลงในใบมรณะบัตรว่าพ่อติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ที่ครอบครัวมาร้องเรียนในวันนี้เพราะติดใจสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อ ติดใจการทำงานของพยาบาลวิชาชีพและการวินิจฉัยของแพทย์ นอกจากนี้ตนยังพบว่าในประวัติผู้ป่วยมีการเปิดจ่ายค่ารักษาและอุปกรณ์เป็นเงิน เกือบ 300,000 บาท ซึ่งเรียกเก็บกับ สปสช.ทั้งที่ผู้ป่วยไม่ได้มีการผ่าตัด แต่มีการเบิกค่าผ่าตัดกระโหลกและแผ่นกระโหลกเทียม ซึ่งพบว่าการเบิกค่าใช้ต่ายที่ไม่ใช่ของพ่อเพิ่มเกือบ 30 รายการ ตนจึงสงสัยว่ามันคือการเบิกเงินค่าอะไร
นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกรณีที่ญาติผู้เสียชีวิต มีข้อข้องใจในหลายประเด็น เช่น สาเหตุการเสียชีวิต เรื่องการเยียวยาช่วยเหลือจากทางโรงพยาบาล หากเกิดการรักษาผิดพลาดจากทางโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาอีก 300,000 บาทที่เรียกเก็บจากหน่วยงานรัฐ ต้นจะขอตรวจสอบก่อนว่าเป็นการเรียกค่าใช้จ่าย เรียกเก็บจากส่วนใด ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งกรณีนี้ตนจะเดินทางลงพื้นที่ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีประเด็นดังกล่าว ตามที่ผู้ร้องเรียนหรือไม่ โดยจะมีการร่วมประชุมหารือกันเพื่อหาการช่วยเหลือเยียวยา เพื่อให้เกิดความสบายใจทั้งสองฝ่าย ขณะนี้ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งจะนัดหมายวันพูดคุยกันอีกครั้ง หากพบว่าการดูแลของพยาบาล เกิดข้อผิดพลาด ก็มีบทลงโทษไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวตักเตือน หรือการพักใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นไปตามขบวนการ แต่ในกระบวนการรักษาจะต้องผ่านการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งจะมีการสอบสวนในเรื่องนี้ว่าข้อเท็จจริงเป็นมาอย่างไร
เบื้องต้นครอบครัวผู้เสียหายได้ยื่นหลักฐานเอกสาร พร้อมทั้งดำเนินการยื่นเรื่องร้องเรียน ทางด้านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงสาธารณสุขจะรวบรวมและนัดหมายทางโรงพยาบาลเพื้อหาจ้อเท็จจริงและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป - 003
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี