‘หมอยง’เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ‘ฝีดาษวานร’
30 สิงหาคม 2567 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กดังนี้...
วัคซีนป้องกันฝีดาษ
การให้วัคซีนป้องกันฝีดาษ หลังสัมผัสเชื้อฝีดาษวานร
ดังได้เคยกล่าวมาแล้ว วัคซีนป้องกันฝีดาษวานรโดยตรงที่ทำมาจากเชื้อ Mpox ไม่มี การใช้วัคซีนในปัจจุบันก็ใช้วัคซีนที่ทำมาจาก หนองฝีดาษวัว ที่แต่เดิมใช้ป้องกันไข้ทรพิษ สามารถข้ามมาป้องกันฝีดาษวานรได้ และมีการพัฒนามาถึง Generation ที่ 3 เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของวัคซีน จึงทำให้มีราคาแพงมากๆ และปริมาณก็ไม่เพียงพอ
ประสิทธิภาพในการป้องกันฝีดาษวานร หลังจากให้วัคซีนไปแล้ว 14 วัน จะอยู่ที่ประมาณ 70-80 %
แต่การให้เป็นการป้องกันหลังสัมผัสโรค ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำมาก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ป้องกันไม่ได้จนถึงประสิทธิภาพสูงสุดประมาณ 20% ดังแสดงในรูป ที่มีการศึกษาและเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์
โรคฝีดาษวานร ตามหลักการแล้วจะติดต่อได้ง่ายในผู้ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น นอนเตียงเดียวกัน มีเพศสัมพันธ์กัน ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่ควรจะได้รับวัคซีน จะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อ หรือกลุ่มรักร่วมเพศ กับคนที่ไม่รู้จัก หรือผู้ที่เดินทางไปในแอฟริกา
การติดต่อของโรคในปัจจุบัน ยังไม่ได้ง่ายแบบการติดเชื้อโควิด 19 ในคนทั่วไป ถึงแม้จะเป็นบุคลากรด่านหน้า เมื่อมาพิจารณา แบบองค์รวมแล้ว รวมทั้งภาระโรคและความรุนแรงของโรค ราคาของวัคซีน ความยากง่ายในการหาวัคซีน จึงยังไม่มีความจำเป็น ณ วันนี้ ที่จะต้องทำ ring vaccination นอกจากว่าในอนาคตพบว่าฝีดาษวานร มีคุณลักษณะเหมือนกับไข้ทรพิษ แน่นอนทุกคนควรจะได้รับวัคซีน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี