ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เป็นประธานพิธีเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความหลากหลายของชาติพันธุ์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ภายใต้โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) ประจำปี 2567 เพื่อตอบโจทย์
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างชุมชนท้องถิ่นการมีรายได้จากเศรษฐกิจฐานมูลค่า โดยมีคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรเข้าร่วมอบรม
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดี มบส. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่นำองค์ความรู้ของคณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยที่ผ่านการฝึกอบรม รวมทั้งนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และงานสร้างสรรค์นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น พัฒนาบุคลากรภาครัฐในท้องถิ่นให้มีความรู้และศักยภาพในการบริหารการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความคุ้มค่าเชิงเศรษฐสังคม และสร้างชุมชนท้องถิ่นให้มีรายได้จากเศรษฐกิจฐานมูลค่า รวมทั้งผลิตบัณฑิตและพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีความรู้ความสามารถในการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าเชิงพื้นที่ตามแนวคิด BCG และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับชุมชนท้องถิ่นจากความต้องการของท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจเช่น การบรรยายหัวข้อ แนวคิดการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ศ.กิตติคุณ วัฒนะ จูฑะวิภาต อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรังสิตหัวข้อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงบูรณาการการศึกษาการสร้างสรรค์งานการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ทางสังคมและเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ และหัวข้อความหลากหลายของชาติพันธุ์ของ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง และกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง โดย รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา หัวข้อความหลากหลายของชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพื้นถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-จีนและกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ (ไทยโซ่ง) และหัวข้อกรณีศึกษาผลงานงานระดับดุษฎีนิพนธ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนหัวข้อกรณีศึกษาการพัฒนาตลาดน้ำสามชุก จ.สุพรรณบุรี โดย ศ.ดร.ว่าที่ ร.ท.พิชัย สดพิบาล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หัวข้อการจัดการข้อมูลเชิงระบบเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการและหัวข้อ กรณีศึกษาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศไทย โดย ดร.มิยอง ซอ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพา
ด้าน ผศ.ดร.ปณิตา แจ้ดนาลาว ผู้ช่วยอธิการบดี มบส. กล่าวว่า จากข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทางมบส.ได้เข้าไปร่วมพัฒนาในกลุ่ม 5 ชาติพันธุ์ มีดังนี้ 1.ต.ดอนคา กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง และกลุ่มผ้าทอลาวเวียง วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง และกลุ่มผ้าทอลาวเวียง จะมีการทอผ้า และมีประเพณีบุญข้าวจี่ บุญบั้งไฟ บุญกระยาสารท เป็นต้น
2.ต.จระเข้สามพัน กลุ่มชาติพันธุ์ไทพื้นถิ่นการจัดทำขนมกง โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตลาด กระยาสารท มีการละเล่นพื้นบ้าน มีผ้าทอมือและกีฬาวัวลาน 3.ต.อู่ทอง กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน (หมู่ 5 บ้านเขาพระ) มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน กิจกรรมสู่ขวัญปันฝ้ายมีการทำกะละแมกระยาสารท ลอยกระทงสวรรค์ ทำบุญกลางบ้านแห่ปลาซ่อน ทำบุญข้าวหลาม ทำบุญสารทพรวน โดยมีการรวบวัตถุโบราณของชาติพันธุ์ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ มีวัตถุจำนวน 200 กว่าชิ้น โดยรวบรวมไว้ ณ วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม อำเภออู่ทอง ซึ่งภายในวัดจะมีจุดบริการนักท่องเที่ยวมีรถรางบริการนักท่องเที่ยว โดยมีมัคคุเทศก์น้อยที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มาช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ 4.กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำมี 2 ตำบล คือ ต.สระยายโสม กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จะมีประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ งานบุญวันสงกรานต์เทศกาลปีใหม่ ตำข้าวเม่า มีการหัตถกรรมจักสานตะกร้า และผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำและ ต.บ้านดอน กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ งานอิงฟ้อนแกลงรำแพน งานปีใหม่ ดำข้าวเม่า โยนข้าว หัตถกรรมทอผ้า งานจักสาน โฮมสเตย์จำนวน 31 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวและ 5.กลุ่มชาติพันธุ์ลาวคลั่ง มี 2 ตำบล คือ ต.สระพังลาน การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรจากต้นลาน และ ต.อู่ทอง หมู่ที่ 3 บ้านโคก ประเพณีงานแห่ธง
ตอนเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีหอเจ้านาย เป็นต้น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี