วันที่ 18 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับรางวัลเลิศรัฐ "ระดับดีเด่น" กับผลงาน "คลัสเตอร์ที่ 15 เด็กช่างแก้จน ชุมชนสมุนไพรเขาฉกรรจ์" ดำเนินการโดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา และรางวัลเลิศรัฐ " ระดับดี" กับผลงาน "นวัตกรรมการบริการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน" ดำเนินการโดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ในพิธีรับมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า รางวัลเลิศรัฐ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานรัฐทั้งปวง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้ส่งผลงานเข้ารับการประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2567 ในสาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ กับผลงาน "นวัตกรรมการบริการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน"
ดำเนินการโดยวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี และสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน กับผลงาน “คลัสเตอร์ที่ 15 เด็กช่างแก้จน ชุมชนสมุนไพรเขาฉกรรจ์”
โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ร่วมกับ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว และวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านคลองสิบสาม โดยคุณแม่ธนวรรณ กันกาญจนะ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านคลองสิบสาม
ผลงานที่นำเสนอได้แก่ เครื่องล้างขมิ้นชัน เครื่องหั่นมะระขี้นก เครื่องอบมะระขี้นก เครื่องบดฟ้าทะลายโจร เครื่องบรรจุแคปซูล ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งมอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านคลองสิบสาม เพื่อทุ่นแรงในการผลิต ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม โดย สอศ. สามารถคว้ารางวัลมาได้ทั้ง 2 ผลงาน
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ความสำเร็จครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแก้ปัญหาความยากจนและการสร้างรายได้ การผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากไม่เพียงแต่เป็นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยอดเยี่ยม แต่ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย ในขณะเดียวกัน โครงการ "เด็กช่างแก้จน" ก็แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการความรู้ทางเทคนิคเข้ากับการพัฒนาชุมชน โดยการสร้างเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง รางวัลที่ได้รับนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นเกียรติแก่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้มีการพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างต่อไปในอนาคต
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี