นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาตลาดการบริโภค เนื้อโค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 4/2567 โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบประเด็นสำคัญต่างๆ คือ 1.ข้อเสนอการกำหนดโครงสร้างต้นทุนของห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อใน ตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่า และสถานที่จำหน่าย (เขียง)เพื่อนำข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาราคาโคเนื้ออย่างรอบด้าน โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมก่อนเสนอนำเสนอเข้าคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ต่อไป
2.มาตรการส่งเสริมการตลาดและการแก้ปัญหาราคาโคเนื้อตกต่ำ ได้แก่ มาตรการควบคุมสารเร่งเนื้อแดงตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยพิจารณาจากฟาร์ม/สถานที่เลี้ยง/เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ โค-กระบือส่งออก มาตรการป้องกันและการลักลอบนำเข้าโคเนื้อ กระบือ เนื้อโค เนื้อกระบือ โดยมีมาตรการควบคุมของกรมปศุสัตว์ ตามแนวชายแดน มาตรการผลักดันการใช้เครื่องหมายประจำสัตว์ประเภทเบอร์หู (NID) เป็นเครื่องมือบริหารจัดการสินค้าโคเนื้อ กระบือ ทั้งระบบ และมาตรการส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคและสร้างความสามารถในการแข่งขันในทุกตลาด พร้อมส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 3.แผนการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคเนื้อ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น และ 4.ทบทวนขั้นตอนการนำเข้าโค กระบือ จากเมียนมา และการเคลื่อนย้ายเพื่อการส่งออก โดยพิจารณาเรื่องการนำเข้าสัตว์บริเวณชายแดน มาตรฐานสถานการณ์กักกันสัตว์ เครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และติดตามการนำเข้าโค กระบือ เข้าคอกกักนำเข้า มาตรการควบคุมเร่งเนื้อแดง และกำหนดปริมาณการนำเข้าส่งออกโค กระบือ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดโคเนื้อของประเทศ พบว่า ในเดือนเมษายน 2567 (ข้อมูลจากกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์)มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 1.440 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ก่อน ร้อยละ 1.13 มีโคเนื้อ 9.912 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่ก่อน ร้อยละ 1.26 และมีความต้องการโคเนื้อในประเทศถึง 242.23 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.57 ทั้งนี้ ในปี 2567 (มกราคม-มิถุนายน) ประเทศไทยมีการส่งออกโคมีชีวิต 50,000 กว่าตัว มูลค่า 1,299 ล้านบาท โดยส่งออกไปประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 39.25 เวียดนามร้อยละ 33.47 ลาว ร้อยละ 26.63 และประเทศอื่นๆ ร้อยละ 0.65 และมีการส่งออกเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ 3,100 ตัน มูลค่า 48 ล้านบาท แบ่งเป็นเนื้อโคแปรรูป ร้อยละ 99 ส่งออกไปญี่ปุ่น และเนื้อโคสดแช่เย็น ร้อยละ 1 ส่งออกไปยังลาวเมียนมา และกัมพูชา ตามลำดับ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี