สำหรับกรณีอุบัติเหตุในระหว่างทัศนศึกษาของนักเรียนที่เพิ่งเกิดไปไม่นานนี้ ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ทางผู้ปกครอง ประชาชน รวมถึงสถานศึกษาเองคงไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ในมุมมองทางกฎหมายนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ทางกฎหมายจะมีความรับผิด 2 ทางคือทางอาญาและทางแพ่ง
โดยในส่วนเบื้องต้นทั่วไป ในคดีเกี่ยวกับโทษทางอาญานั้นมักต้องดำเนินคดีจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำประมาทโดยตรงเช่นผู้ขับขี่
ส่วนทางแพ่งคงจะหมายถึงผู้มีส่วนที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย อาทิ บริษัทประกันภัย นายจ้าง รวมถึงสถานศึกษา เป็นต้น
ซึ่งในส่วนเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีคดีสำคัญคือกรณี ซานติก้าผับ ซึ่งเกิดขึ้นในวันสิ้นปี พ.ศ. 2551 โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาฎีกาเลขที่ 8565-8566/2558 คดีดังกล่าวพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาข้อหาหลักคือทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จะทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กับจำเลยรวม 7 คนคือ1.ผู้บริหารสถานบริการ 2.ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ 3. ผจก.ฝ่ายบันเทิง 4.ผจก.ฝ่ายการตลาด 5.นักร้อง ผู้จุดพลุไฟ 6.บริษัท รับจ้างติดตั้งการทำเอฟเฟกท์ และ 7.กรรมการผู้มีอำนาจบริษัทรับจ้างติดตั้งการทำเอฟเฟกท์
โดยในคดีดังกล่าวมีรายละเอียด สำคัญเกี่ยวกับความรับผิดหลายประการที่อาจจะสามารถใช้เทียบเคียงในกรณีความรับผิดในคดีอาญากรณีอุบัติเหตุระหว่างทัศนศึกษาได้ อาทิ ความรับผิดในคดีดังกล่าวนอกจากความรับผิดทางอาญาจะเกิดขึ้นแก่บุคคลธรรมดาแล้ว ยังได้กำหนดให้นิติบุคคล ซึ่งไม่มีสภาพบุคคลเหมือนบุคคลธรรมดาให้ต้องรับผิดในคดีอาญาด้วย (...จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 6 รับจ้างติดตั้งดอกไม้เพลิงในการทำฉากเอฟเฟกท์ในร้านเกิดเหตุตามขอบแห่งวัตถุประสงค์ ย่อมต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 6 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 7 เป็นความผิดอาญา แม้จะเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยที่ 6ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วยเช่นกัน จำเลยที่ 6 และที่ 7...)
นอกจากนี้ในคดีตัวอย่างดังกล่าวยังตีความเกี่ยวกับผู้มีส่วนร่วมในการกระทำโดยประมาทไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผอ.ฝ่ายปฏิบัติการ จำเลยที่ 3 ผจก.ฝ่ายบันเทิง รวมถึงจำเลยที่ 4 ผจก.ฝ่ายการตลาด โดยโจทก์ได้ยื่นฟ้องให้บุคคลดังกล่าวร่วมรับผิดในทางอาญาเกี่ยวกับข้อหา ที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยประมาทอีกด้วย
ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกรณีดังกล่าวกับอุบัติเหตุกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างทัศนศึกษานั้น ยังสามารถเปรียบเทียบและนำมา ปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำ
ความผิดโดยประมาทไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่เจ้าของรถทัวร์หรือเจ้าของกิจการรถทัวร์ผู้เกี่ยวข้องในการวางแผนการเดินทาง อาทิ บุคลากรครูหรือสถานศึกษา เป็นต้น
ซึ่งแม้การกระทำโดยประมาทจะเป็นเหตุการณ์ที่ทุกฝ่ายไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่บทลงโทษทางอาญาโดยเฉพาะการลงโทษจำคุกจริง ย่อมเกิดมาตรฐานสังคมเกี่ยวกับการระมัดระวัง ความปลอดภัยในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางหรือวางแผนทัศนศึกษา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี