นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกในปัจจุบัน (Climate Change) ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เกิดฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย จึงมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกร โดยได้แนะแนวทางและมาตรการรับมือกับภัยดินโคลนถล่มในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันและช่วยลดความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ก่อนเกิดภัย ให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของธรรมชาติโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติดินถล่ม เกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลันบ่อยครั้ง หากได้รับสัญญาณเตือนภัย ให้อพยพไปในพื้นที่สูงและมั่นคง ตามเส้นทางที่จัดเตรียมไว้
ระยะที่ 2 เพิ่มศักยภาพพื้นที่ให้สามารถรับมือกับภัยดินถล่มที่อาจเกิดขึ้น จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การทำขั้นบันไดดิน ทำคันคูรับน้ำขอบเขา
สร้างฝายชะลอความเร็วน้ำ ปลูกหญ้าแฝกเพื่อให้รากช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย รวมทั้งปลูกพืชหมุนเวียน ระยะที่ 3 รักษาฟื้นฟูสภาพดิน ปลูกพืชคลุมดิน ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกไม้ยืนต้นบริเวณป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมเพื่อรักษาหน้าดินและชะลอความแรงของน้ำ ป้องกันดินถล่มในระยะยาว ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้ติดตามสถานการณ์และข้อมูลพยากรณ์อากาศ พร้อมเฝ้าระวังและแจ้งข่าวสารให้กับเกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างรู้เท่ากันสถานการณ์
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี