“ธนาคารที่ดิน” ชี้แจงผลดำเนินงานต่อกมธ.แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา สภาฯ ย้ำเป็นองค์กรแก้ปัญหาด้านที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย นำพาเกษตรกร พ้นความยากจน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ขององค์การสหประชาชาติ
วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เข้าชี้แจงการดำเนินงานสถาบันฯ ต่อคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา สภาผู้แทนราษฎร มีนายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เป็นประธานคณะกรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินฯ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA411 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา
นายสัมพันธ์ กล่าวว่า กรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินฯ ต้องการทราบแนวทางดําเนินการเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน, การรวบรวมข้อมูลที่ดินและเป็นตัวกลางระหว่างผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน กับเจ้าของที่ดินที่ยังมิได้ใช้ประโยชน์หรือเจ้าของที่ดินที่ยังไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่, การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินของรัฐและดําเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินของเอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเพื่อให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงรวมทั้งสนับสนุนทางการเงินแก่การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการสนับสนุนให้ชุมชนมีการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันทั้งที่ดินทำกินและที่ดิน สำหรับการอยู่อาศัยในรูปแบโฉนดชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน
ขณะที่ นายกุลพัชร ชี้แจงว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารที่ดิน ในด้านกระจายการถือครองที่ดิน และป้องกันสูญเสียสิทธิฯ ในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน ปีงบประมาณ 2559-2567ผ่านโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (27 พื้นที่) จำนวน 1,113 ครัวเรือน พื้นที่ 3,369 ไร่ ผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
1.โครงการหาข้อยุติในการบริหารจัดการ ในพื้นที่นำร่อง 4 ชุมชนภาคเหนือ จำนวน 332 ครัวเรือน พื้นที่ 741ไร่
2.โครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดิน จากการจำนอง/ขายฝากหรือถูกบังคับคดี จำนวน 341 ครัวเรือน พื้นที่ 2,289 ไร่
3.โครงการตัวกลางที่ดิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน โดยทำสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เข้าใช้ที่ดินซึ่งสามารถทำการเกษตรได้จริง จำนวน 99 สัญญา 99 ครัวเรือ พื้นที่ 764 ไร่
รวมพื้นที่ดำเนินการ 7,164-4-52.6 ตรว.เงินลงทุน 883 ล้าน 4 แสนบาท ปัจจุบันมูลค่าที่ดิน เพิ่มขึ้นเป็น 1,141 ล้าน 4 แสนบาท รวม 4 โครงการ ช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งสิ้น 1, 885 ครัวเรือน
นายกุลพัชร ชี้แจงด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2568 “ธนาคารที่ดิน” มีแผนดำเนินงานช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนรายกลุ่ม ผ่านโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน เพิ่มอีก 15 พื้นที่ 12 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยงบประมาณ 470 ล้าน 4 แสนบาท และมุ่งดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรผู้ยากจนรายปัจเจค ผ่านโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน จากการจำนอง/ขายฝาก หรือถูกบังคับคดี จำนวน 30 ราย งบประมาณ 16 ล้าน 8 แสนบาท ผ่านโครงการตัวกลางที่ดิน จำนวน 45 สัญญา งบประมาณ 2 ล้าน 9 หมื่นบาท
นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการซี่งบูรณาการร่วมกับกระทรวงยุติธรรม เพื่อบริหารจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ค้างขายทอดตลาด 2 พื้นที่ งบประมาณ 2 ล้าน 9 แสนบาท โครงการบูรณาการความร่วมมือกับ สคทช. เพื่อสนับสนุนทุนส่งเสริมอาชีพ และเพื่อการพัฒนารที่ดิน ใน 45 พื้นที่ งบประมาณ 12 ล้าน 9 แสนบาท
ในด้านกฎหมาย ดำเนินการผลักดันจัดตั้ง “ธนาคารที่ดิน” หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี ด้วยพันธกิจ และภารกิจ “ธนาคารที่ดิน” สอดคล้อง หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 72
(1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(3) จัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ทำกินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กำกับดูแล ”ธนาคารที่ดิน“
“ธนาคารที่ดิน” มุ่งมั่นดำเนินตามพันธกิจ “กระจายการถือครองที่ดินอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิในที่ดินของประชาชน
“ธนาคารที่ดิน” จึงตอบสนองเชิงนโยบาย มีส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ช่วยเหลือความเป็นอยู่ของครัวเรือนที่เปราะบางให้มีรายเพิ่ม ทั้งเพิ่ม GDP ประเทศ แก่นสำคัญที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ นั่นคือ “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” อันจะบรรลุความมุ่งหมายสูงส่ง สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ.2030 หรือในปี พ.ศ.2573 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตทุก ๆ ด้าน #ธนาคารที่ดิน #คณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สินความยากจนและลดความเหลื่อมล้ํา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี