‘ค่ายมวยต้นกล้า’สืบสานมรดกมวยไทย ปลูกฝังศิลปะการต่อสู้ในดวงใจเยาวชนสตูล
23 ตุลาคม 2567 ที่บ้านเลขที่ 309/1 หมู่ 4 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล ถูกเนรมิตใต้ถุนบ้านเป็นค่ายมวยขนาดย่อม ภายใต้ชื่อ “ศิษย์จ่าเทพ” เพื่อให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้านกว่า 14 คนมารวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อมสมรรถภาพร่างกาย เริ่มตั้งแต่การวอร์มร่างกายด้วยการหัดไว้ครูเพื่อยืดเส้นสาย โดยมีครูฝึกคอยประกอบให้คำชี้แนะ ผู้ปกครองมาคอยให้กำลังใจ โดยแต่ละวันเด็ก จะต้องกระโดนเชือก , เต้นลูกยาง, ชกลม , เตะกระสอบ ,ล่อเป้า เป็นต้น โดยน้อง ๆ ใช้ทั้งหมดเท้าฝึกซ้อมกันอย่างมุ่งมั่น เห็นถึงเยาวชนรุ่นใหม่ที่หลงใหลในศิลปะมวยไทย
"ค่ายมวยต้นกล้า" นี้อยู่ภายใต้การดูแลของ "ระฆังทองศิษย์จ่าเทพ" เปิดประตูต้อนรับเยาวชนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2567 โดยมี "ลุงเล็ก พันศักดิ์” อดีตนักมวยเก่าเป็นครูฝึกหลัก ปัจจุบันมีนักมวยเยาวชนฝึกซ้อมประมาณ 14 คน อายุตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1
หนึ่งในนักมวยดาวรุ่งของค่าย คือ ด.ช.ฐิติพงษ์ ง๊ะสมั่น หรือน้อง "บินลาเดน วิมโตโยต้า" วัย 11 ปี นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนบ้านคลองขุด ที่มีประสบการณ์การชกมาแล้ว 4 ครั้ง ด้วยสถิติชนะ 2 แพ้ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการเริ่มต้นที่แข็งแกร่งของนักมวยรุ่นเยาว์ โดยน้องบอกว่า แม้จะฝึกหนักก็เพื่ออยากชนะเวลาลงแข่งขัน และนักมวยที่ชื่นชอบและอยากเดินรอยตามคือ “รถถัง จิตเมืองนนท์” เวลาขึ้นเวทีแข่งได้เงินมาก็จะให้แม่เก็บไว้สร้างความภูมิใจให้กับตนเองมาก อยากได้เงินเยอะดูแลแม่ เคยร้องไห้เวลาต่อยเสร็จแล้วแพ้เพราะอยากชนะ
สำหรับการฝึกซ้อมที่นี่แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงปิดเทอมฝึกตั้งแต่บ่ายสามโมงถึงสองทุ่ม ส่วนวันธรรมดาเริ่มสี่โมงเย็นถึงสองทุ่ม โปรแกรมการฝึกครอบคลุมทั้งการปล้ำ แตะกระสอบ กระโดดเชือก ชกลม วอร์มร่างกาย เต้นลูกยางเพื่อฝึกพลังขา และการล่อเป้า ซึ่งเป็นท่าที่เด็กๆ บอกว่าเหนื่อยที่สุดแต่สนุก โทรศัพท์เกือบไม่ได้จับเลย
ลุงเล็ก พันศักดิ์” อดีตนักมวยเก่าเป็นครูฝึกหลัก บอกว่า "เราไม่ได้แค่สอนมวย แต่เราสอนวินัยและความอดทน" ลุงเล็กกล่าว "ที่สำคัญคือการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด นี่คือเป้าหมายหลักของเรา"
นายชัยณรงค์ ไชยจิตต์ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสตูล บอกว่า มวยไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่มีการอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับเด็กเยาวชนรุ่นหลัง เห็นแล้วว่า เด็ก ๆ มีความตั้งใจ จึงได้ร่วมกัน 3 ตำบล ต.คลองขุด ต.ควนขัน และ ต.เกตรี โดยกลุ่มนี้หลีกเลี่ยงปัญหายาเสพติดได้ อีกทั้งทางวัฒนธรรมเองต้องการผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตนในฐานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง จึงได้ส่งเสริมร่วมกับ จ่าเทพ โดยเข้ามาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการชกมวย เพราะเด็ก ๆที่เข้ามาฐานะต่างกัน และมาจากกลุ่มเสี่ยงจากยาเสพติดสูง
ปัจจุบัน ค่ายมีนักมวยในสังกัด 6 คน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนจากพื้นที่คลองขุดและควนขัน ที่สมัครใจมาฝึกซ้อมด้วยใจรักในศิลปะมวยไทย สะท้อนให้เห็นว่าแม้ในยุคดิจิทัล ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดคนรุ่นใหม่ และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
วันนี้เด็ก ๆยังคงฝึกซ้อมที่ใต้ถุนบ้าน โดยทางค่ายมวยศิษย์จ่าเทพเตรียมจัดงบประมาณเพื่อทำเวทีมวย ให้เด็กๆ ได้ฝึกซ้อมเสมือนขึ้นเวลาจริง เพื่อให้คุ้นชินกับเวที เปิดรับสมัครเยาวชนที่สนใจฝึกมวยไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี