นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการดัดแปรสภาพอากาศระดับภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2567 (ASEAN Regional Seminar on Weather Modifi-cation 2024) โดยมี นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนหน่วยงานความร่วมมือ และผู้แทนหน่วยงานร่วมบูรณาการเข้าร่วม ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ การจัดประชุมครั้งนี้ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วม 10 ประเทศ ที่เดินทางมาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ อันเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการดัดแปรสภาพอากาศของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และสมาชิกศูนย์การดัดแปรสภาพอากาศอาเซียนให้มีความรู้ และเกิดทักษะที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย จนสามารถร่วมดำเนินโครงการความร่วมมือให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป
และเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนา วิจัยและปฏิบัติการด้านการดัดแปรสภาพอากาศ อันเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ และสามารถนำมาปรับใช้กับเทคนิคของแต่ละประเทศได้อย่างเหมาะสม และร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานภายใต้ศูนย์การดัดแปรสภาพอากาศอาเซียน โดยจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมด้านการดัดแปรสภาพอากาศ อันเป็นเครื่องมือและกลไกสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และบรรเทามลภาวะทางอากาศในระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์ AWMC และประเทศไทยโดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นเลขานุการถาวรของศูนย์นี้ และที่เราเสนอเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการดำเนินกิจกรรมแรกและเป็นการเปิดตัว ศูนย์ AWMC อย่างเป็นทางการ และเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เผยแพร่เทคโนโลยีฝนหลวง อันเกิดจากพระอัจฉริยภาพด้านฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอย่างสมพระเกียรติ โดยประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีฝนหลวง โดยมีการทดลองและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 55 ปี ตั้งแต่ปี 2512 ที่มีการทดลองบนท้องฟ้าครั้งแรกจนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนองและสืบสานพระราชประสงค์ ในการช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ เพื่อความอยู่ดีกินดีและมีความสุขดีของประชาชนคนไทย
การร่วมมือกับนานาประเทศในครั้งนี้ จะเป็นไปในรูปแบบของงานวิจัยร่วมกันเพื่อหาหนทางหาเทคนิควิธีการที่ดีกว่า ดีขึ้น หรือที่เหมาะสมกว่าซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้นักวิชาการในทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งการดัดแปรสภาพอากาศได้เข้ามามีบทบาทร่วมกันใช้องค์ความรู้ที่แต่ละประเทศมี ใช้ประสบการณ์จากการเจอะเจอปัญหาต่างๆ ในแต่ละพื้นที่มาแชร์กัน และกำหนดแผนการดำเนินการร่วมกัน เพื่อหาวิธีการที่จะเอาชนะความแห้งแล้ง เอาชนะสภาพอากาศที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อชีวิตทรัพย์สินประชาชน ซึ่งเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ในที่สุด และการร่วมมือเช่นนี้ จะทำให้ศูนย์ AWMC มีความเข้มแข็งมากขึ้นต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี