เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ครั้งที่ 5/2567 ที่มี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนว่าด้วยการวินิจฉัยการร้องทุกข์ และการคุ้มครองการทำงาน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน มาตรา 86 ซึ่งกำหนดให้ สช.ต้องออกระเบียบดังกล่าว ซึ่งจะเป็นกฏหมายที่กระทรวงเร่งรัด เนื่องจากเป็นกฏหมายที่ต้องออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ซึ่งยังไม่เสร็จจึงต้องไปขอ ครม.ขยาย จะออกได้ไม่เกินวันที่ 26 พ.ย.นี้ ซึ่งวันนี้ที่ประชุมก็ได้เห็นชอบ เมื่อเสร็จแล้ว สช.จะนำเสนอให้ รมว.ศธ.ลงนามและประกาศใช้ต่อไป
เลขาธิการ กช.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องเพื่อทราบ 4 เรื่อง อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประจำปี พ.ศ.2568 ซึ่ง สช.ได้นำนโยบายเรียนดีมีความสุข ของ รมว.ศธ.ไปดำเนินการ โดยทำเป็นจุดเน้นและทำเป็นโครงการ รวมถึงการลดภาระครู ภาระนักเรียน ในส่วนของการลดภาระครูที่สำคัญๆ โดย สช.จะมีการประเมินวิทยฐานะของครูเอกชนที่เทียบเท่าเพื่อจะให้ครูเอกชนไปขอ A : License หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูงได้ ส่วนการลดภาระนักเรียน ก็จะขับเคลื่อนเรื่องการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA ตามนโยบาย รมว.ศธ.และเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ และได้มีการพัฒนาด้านวิชาการในหลายๆ เรื่องให้กับโรงเรียนเอกชน
เลขาธิการ กช.กล่าวด้วยว่า สช.ได้รายงานผลการประชุมกำหนดมาตรการและแนวทางการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชน ซึ่งเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา สช.ได้เชิญสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) กลุ่มตรวจสอบภายในกระทรวงศึกษาธิการ (ตสน.ศธ.) และสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.สช.) มาร่วมหารือกันในประเด็นที่เป็นข่าวเกิดขึ้นเกี่ยวกับเงินอุดหนุนรั่วไหล
"ซึ่ง รมว.ศธ.ได้กำชับในเรื่องของการดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชน ว่าให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส และได้มีข้อสั่งการว่าไม่อยากให้มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในกระทรวงฯ ซึ่ง สช.ก็จะพยายามดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล และในอนาคตจะดูเรื่องการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง และวางมาตรการต่างๆ ให้โรงเรียนเอกชนสร้างความรับผิดชอบในส่วนของการตรวจสอบเงินอุดหนุนให้รับกุมมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นอีก" เลขาธิการ กช.กล่าว
นายมณฑล กล่าวอีกว่า สช.ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงการดำเนินงานของ สช.ในการออกประกาศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง รายชื่อศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิส (ตาดีกา) ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2567 จำนวน 2,036 แห่ง ซึ่งศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิส (ตาดีกา) ดังกล่าวนี้ ได้รับโอนมาจากกระทรวงมหาดไทย ในปี 2548 และปี 2550 เมื่อรับโอนมาแล้ว สช.ได้มีการสำรวจและประกาศออกมาว่าเป็นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิส (ตาดีกา) ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดความสบายใจในการไปช่วยเหลือสนับสนุน และฝ่ายความมั่นคงก็จะได้ทราบว่า ศูนย์ตาดีกามีกี่แห่ง โดยศูนย์ตาดีกาเหล่านี้ ก็จะต้องไปจัดทำรายละเอียดกิจการโรงเรียนเหมือนกับโรงเรียนนอกระบบ แล้วส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ศูนย์ทะเบียนกลางของ สช.
เลขาธิการ กช.กล่าวว่า สช.ได้รายงานที่ประชุมถึงการควบคุมกิจการของโรงเรียนในระบบ จำนวน 1 โรงเรียน ที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งการควบคุมเพื่อจะยกเลิกกิจการโรงเรียน
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี