เกี่ยวกับความผิดมาตรฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนั้น ผู้เขียนเคยได้นำมาลงในคอลัมน์นี้บ้างแล้ว แต่ถึงเนื้อหาที่เคยเขียนส่วนใหญ่จะเกี่ยวพันกับมูลฐานความผิดตาม (15) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งนอกจากบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวมีอีกหลายอนุมาตราที่น่าสนใจโดยเฉพาะ (18) ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ
โดยองค์ประกอบในการกระทำความผิด ในอนุมาตราดังกล่าว มีพื้นฐานเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา และมีองค์ประกอบเพิ่มเติมคือ ต้องมีการกระทำในลักษณะอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ
นั่นหมายความว่าหากผู้กระทำความผิดเพียงแต่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์คือ ลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอก เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าครบองค์ประกอบตามอนุมาตราดังกล่าว และไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงินได้
แต่หากจำเลยหรือผู้ต้องหา ได้มีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าว มีลักษณะเป็นปกติธุระจึงจะถือว่าเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดมูลฐานตามอนุมาตรา 19 ซึ่งคำว่าลักษณะเป็นปกติธุระ นั้นอาจจะยังไม่ได้มีคำ นิยามทางกฎหมายแน่ชัด แต่เมื่อพิจารณาเทียบเคียงถ้อยคำท้าย(11)(12)(13)(14)(15) ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานในเรื่องอื่น โดยมีข้อความปิดท้ายว่า “อันมีลักษณะเป็นการค้า” จะเห็นได้ว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอื่นซึ่งลักษณะที่จำเลยหรือผู้ต้องหากระทำเป็นประจำ หรือกระทำเป็นทางการค้านั้น ก็เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายฟอกเงินเช่นเดียวกัน
ดังนั้นในกรณีการตีความเกี่ยวกับลักษณะอันเป็นปกติธุระนั้น คงจะไม่ยากหากจำเลยหรือผู้ต้องหาได้กระทำเป็นประจำ กับบุคคลหลายคนเป็นปกติธุระหรือเป็นช่องทางการหาเงินโดยไม่ชอบและเป็นประจำ เพียงแต่มีข้อสังเกตว่าหากจำเลยหรือผู้ต้องหากระทำกับผู้เสียหายคนเดียวแต่หลายครั้ง จะสามารถตีความเป็นลักษณะ เข้าข่ายว่าเป็นการกระทำอันเป็นปกติธุระตามอนุมาตราดังกล่าวได้หรือไม่
เนื่องจากการตีความตามกฎหมายอาญานั้น จำเป็นที่จะต้องตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด ซึ่งเมื่อดูจากเจตนารมณ์ของถ้อยคำตามอนุมาตราอื่น จะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะไป
ในทำนองการกระทำเป็นกิจวัตร การกระทำเป็นอาชีพ ซึ่งอาจจะหมายถึงกระทำกับบุคคลหลายคน กระทำกับบุคคลทั่วไป ดังนั้นการตีความในมาตราดังกล่าวคงเป็นกรณีศึกษาครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งว่าจะมีการตีความออกมาอย่างไร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี