DPU เสริมแกร่งบุคลากร จัดคอร์สติวเข้ม “AI สำหรับอาจารย์” พัฒนาทักษะการเรียนการสอนและทำวิจัย ด้วยเทคโนโลยี AI มุ่งยกระดับคุณภาพทางการศึกษา เตรียมพร้อมปั้นนักศึกษาสู่ตลาดงานยุคใหม่ที่มีคุณภาพ
ศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) จัดโครงการ Research Training Series ครั้งที่ 4 ประจำปี 2567 อบรมหัวข้อ “AI สำหรับอาจารย์” เพื่อ Up research skills ของอาจารย์และบุคลากร โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ รองคณบดี วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี เป็นวิทยากร ภายในกิจกรรมมี ผศ.ดร.ลีลา เตี้ยงสูงเนิน ผู้อำนวยการศูนย์ RDI ทีม A และคณาจารย์เข้าร่วมกว่า 20 คน ที่ห้อง Lab 144 อาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผศ.บัญญพนต์ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ AI มีความสำคัญมาก เนื่องจากปัจจุบันหลายคนยังแยกไม่ออกระหว่าง AI กับ Generative AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คนใช้งานเป็นประจำ เห็นได้ชัดในสถาบันการศึกษามีการนำ AI มาใช้ในการเรียนการสอนหลายด้าน เช่น การบริหารงานการศึกษา การวิจัย และปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง Class Learning Outcome หรือ โปรแกรม CLOs/PLOs (Program Learning Outcome) ที่ต้องการไอเดียใหม่ๆ ซึ่ง AI จะช่วยเชื่อมโยงอัพเดทข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น
“อาจารย์ที่เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ต้องการทราบว่า AI สามารถช่วยเหลืองานทางด้านวิชาการได้มากแค่ไหน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการสอนหรือการทำงานได้อย่างไร ดังนั้นในการบรรยายจึงมุ่งเน้นแนะแนวทางให้เห็นว่า นอกจาก AI จะช่วยงานด้านวิชาการแล้ว ยังสามารถเปิดมุมมองใหม่ๆ ที่จะใช้ในการสอนทั้งปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากหากสอนเพียงแค่เรื่องเดิม โดยไม่อัปเดตความรู้ใหม่ๆเข้าไป ความรู้ของเราก็จะหยุดอยู่ที่เดิม แต่ถ้าเราทำการวิจัยและพัฒนาวิธีการทำวิจัยใหม่ๆ งานวิจัยจะช่วยให้การเรียนการสอนของเรามีความแปลกใหม่ยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ ผศ.บัญญพนต์ ได้หยิบยกตัวอย่างให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจว่า เราสามารถให้ AI ช่วยอ่านงานวิจัยที่เราสนใจ 4-5 ชิ้น ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ เราต้องอ่านก่อนระดับหนึ่งและมีคําถามในหัวข้อวิจัยด้วย แล้วให้ AI มาวิเคราะห์หรือทบทวนความรู้ เช่น ถ้าอ่านงานวิจัย 3 ชิ้น และเข้าใจในประเด็นต่างๆ 6 ข้อ การใช้ AI ในกรณีนี้คือ 6 ข้อที่เข้าใจถูกต้องหรือไม่ จะถามเพื่อเป็นการทวน และยืนยันความเข้าใจ แต่บางเรื่องอาจจะมีตกหล่น AI จะช่วยเพิ่มเติมบางส่วนหรือไม่อธิบายให้ครบถ้วน
ผศ.บัญญพนต์ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน AI มีบทบาทสำคัญในการช่วยงานวิจัยหลากหลายด้าน เช่น การวางกลยุทธ์ การวางแผน การคำนวณ ออกแบบตาราง หรือจัดทำคอร์สต่างๆ รวมถึงการเขียนโครงการ การจัดการหลักสูตร ซึ่งช่วยลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมย้ำว่า AI ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์ แต่เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
“สำหรับปีการศึกษาหน้า จะมีการเปิดสอนวิชาพิเศษที่สอดคล้องกับเทรนด์ปัจจุบัน โดยเน้นการใช้ Generative AI เช่น การสร้างภาพ สตอรี่บอร์ด การทำพอดแคสต์ และการเขียนบท ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับนักศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลและการทำวิจัย (Research Literacy) ด้วย AI”
ผศ.บัญญพนต์ ทิ้งท้ายว่า หลักสูตรถูกออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างอาชีพได้ตั้งแต่ปี 1 เช่น เรียนรู้พื้นฐานการออกแบบกราฟิกในปี 1 เขียนโปรแกรมในปี 2 สร้างแอนิเมชันในปี 3 และประกอบธุรกิจในปี 4 โดยเน้นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพร้อมเข้าสู่ตลาดงาน AI และเครื่องมือใหม่ๆ จะเข้ามาช่วยยกระดับงานทั้งด้านการศึกษาและอาชีพของนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ที่ต้องปรับตัวและพัฒนาการสอน เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี