แต่เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบทางกฎหมายดังกล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นได้ว่ากฎหมายนั้นได้วางหลักเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ว่าเป็นสาเหตุไปสู่ผลคือการได้รับค่าเสียหายหรือผลประโยชน์อื่นโดยคำว่าเป็นเท็จในประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งหรือข้อความที่สื่อสารนั้นจะต้องไม่มีมาตั้งแต่ต้น
ซึ่งมีข้อสังเกตเบื้องต้นที่ใช้ตรวจสอบและพิจารณาว่าการกระทำในเรื่องราวดังกล่าวนั้นเป็นความผิดทางแพ่ง หรือเป็นข้อหาความผิดทางอาญาเกี่ยวกับกรณีฉ้อโกง ดังนี้
โกง ที่หมายถึง ฉ้อโกงทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับหมายความว่า เจตนาของผู้ที่โกง คิดที่จะโกงมาก่อนแล้ว ใช้อุบายต่างๆ นานา เพื่อให้ได้ทรัพย์สินไปจากผู้เสียหาย เช่น ซื้อสินค้าและจ่ายเช็คที่บัญชีปิดแล้ว ทำสัญญากู้ให้โจทก์ในนามบุคคลอื่นที่ไม่ตัวตนจริง (ฎ. 5255/2540) หลอกว่าสามารถพาไปทำงานต่างประเทศได้และเรียกเก็บค่าดำเนินการ ทั้งที่ความจริงไม่สามารถพาไปได้(ฎ.5401/2542) หลอกขายฝากที่ดินแปลงที่สวยผู้เสียหายหลงเชื่อพอรับซื้อฝากปรากฏที่ดินเป็นป่ารกและสภาพต่างกันมาก (ฎ.1866/2543) นำสร้อยทองปลอมมาขายให้ผู้เสียหาย(ฎ.471/2543)
ซึ่งตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เจตนาของผู้ที่ฉ้อโกงทางอาญา จะมีเจตนาไม่ชำระหนี้หรือหลอกมาตั้งแต่ต้น แต่ใช้เอกสาร สัญญา อุบาย พูดจาหว่านล้อมจนผู้เสียหายเชื่อ
ส่วนคำว่าถูกโกง หรือผิดสัญญาทางแพ่งที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจกัน กล่าวคือ การที่จะเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งนั้นหมายความว่า เดิมคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะโกง เช่น ขณะทำสัญญาลูกหนี้ไม่มีเจตนาจะเบี้ยว ทำสัญญาไปตามปกติถูกต้องครบถ้วน แต่ภายหลังจากที่ทำสัญญาแล้ว
สถานะทางการเงินไม่ดี ขาดสภาพคล่องถึงไม่มีเงินมาใช้หนี้แล้ว แบบนี้จะเป็นกรณีผิดสัญญาทางแพ่งแทน ยกตัวอย่างเช่น เคยทำสัญญาซื้อขายกันปรากฏว่าจำเลยส่งสินค้าให้เพียงสองลอตไม่ครบตามสัญญา เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง (ฎ.19/2541)จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ปรากฏว่าภายหลังที่ดินถูกเวนคืนโดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนเพราะทางราชการเพิ่งประกาศออกมา แบบนี้เป็นกรณีผิดสัญญาทางแพ่ง (ฎ.151-152/2537)
โดยหลักสำคัญในกรณีฉ้อโกงนั้นเป็นการตีความตรงตัวอักษรนั่นหมายความว่าสิ่งที่เสนอหรือแสดงต่อผู้เสียหายนั้นไม่มีจริงมาตั้งแต่ต้น หรือเจตนาที่จะหลอกลวงมาตั้งแต่ต้น และโดยส่วนมากนั้นผู้ที่กระทำความผิดมิได้ดำเนินการหรือดำเนินธุรกิจในลักษณะนั้น แต่เพียงการยกขึ้น
อ้างเท่านั้น แตกต่างกับกรณีผิดสัญญาทางแพ่ง ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจทำธุรกิจนั้นเป็นปกติ เพียงแต่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินการชำระหนี้ จึงเป็นข้อพิจารณาสำคัญที่ เป็นจุดตั้งต้นว่าผู้เสียหายจะยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี