nn พนักงานสวนสยามหรือสวนสนุกสวนน้ำกลางกรุง เขตคันนายาวสุดเศร้า ผู้บริหารทุบโต๊ะปรับลดเงินเดือนพนักงานที่ทำงานรับเงินเดือนประจำอยู่กว่า 200 คน ลง 50 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าถ้าสมมุติพนักงานคนหนึ่งได้เงิน 10,000 บาท ต่อเดือน สิ้นเดือนก็จะได้รับแค่ 5,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ได้สร้างความกดดันบีบหัวจิตหัวใจให้กับพนักงานสาหัสสากรรจ์ทีเดียว เพราะผู้บริหารมีการประชุมกันเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 (ช่วงเย็นๆ) และมีมติออกมาบอกในเวลาดังกล่าวว่า ทางบริษัทมีความจำเป็นขอปรับลดเงินเดือนพนักงานลงครึ่งหนึ่งของเงินเดือนที่แต่ละคนได้รับ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นทางบริษัทจะไม่สามารถดำรงสถานะของบริษัทเอาไว้ได้ เนื่องจากรับภาระค่าไฟฟ้าไม่ไหว ส่งผลให้พนักงานตกใจและวิพากษ์วิจารณ์หึ่งทีเดียว พร้อมตั้งคำถาม ทำไมถ้าเป็นปัญหาค่าไฟฟ้าจึงเพิ่งมาบอกกับพนักงานกะทันหันลักษณะนี้ น่าจะมีเรื่องอื่นที่มากกว่าสำคัญกว่าค่าไฟฟ้าหรือเปล่า หรือจงใจบีบบังคับให้พนักงานลาออกไปเอง แบบตัวใครตัวมัน ไม่ต้องเสี่ยงกับการร้องเรียน...
nn โดยหลักการปรับลดเงินเดือนควรบอกกันล่วงหน้า เพื่อให้ลูกจ้างรับรู้ เช่น บอกว่าสิ้นปีนี้ทางบริษัทจะปรับลดเงินเดือนลงส่วนใครประสงค์ลาออกบริษัทไม่ขัดข้อง ยินดีจ่ายเงินแทนตามกฎหมาย ไม่ใช่บอกกันในวันประชุมโดยไม่ให้เวลาเขาเตรียมตัวเตรียมใจกันเลย ประชุมวันที่ 26 พฤศจิกายน สิ้นเดือนพฤศจิกายนรับครึ่งหนึ่ง อย่างนี้บริษัทกระทำผิดตามข้อกฎหมายแรงงานชัดเจนกล่าวคือ เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้าง นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า1 งวด ของงวดเงินเดือน เช่น ถ้าได้ค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างเป็นลายลักอักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า...
nn อัตราค่าชดเชย ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด (ข้อ 1) ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 แต่ไม่ครบ 1 ปี ถ้ารับชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน (ข้อ 2) ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน (ข้อ 3) ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ชดเชยเท่ากับค่าจ้างงาดสุดท้าย 180 วัน (ข้อ 4) ถ้าลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ได้รับชดเชยเท่ากับค่าจ้างงวดสุดท้าย 240 วัน (ข้อ 5) ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับชดเชยค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างงวดสุดท้าย 300 วัน และ (ข้อ 6) ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยค่าจ้างเท่ากับงวดสุดท้าย 400 วัน...nn นี่ คือกฎหมายแรงงาน หากพนักงานไม่ได้รับความยุติธรรมก็สามารถร้องทุกข์ที่กระทรวงแรงงานได้ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ที่สำคัญสูงสุด และไม่ควรปล่อยให้สุดแล้วแต่นายทุนว่าไปตามความพอใจ เพราะบ้านเมืองมีขื่อมีแปที่คุ้มครองลูกจ้างอยู่...nn
ไผ่ฎำ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี