โครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบ เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากอ้อย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ปัจจุบัน รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปรับเปลี่ยนสู่การตัดอ้อยสด เพื่อลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ เช่น ใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย ผ่านกระบวนการผลิตพลังงานทดแทน และการแปรรูปวัสดุเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จากข้อมูลปี 2565 ปริมาณอ้อยเข้าหีบกว่า 92.07 ล้านตัน ส่งผลให้มีใบอ้อยเหลือทิ้งในไร่ประมาณ 12 ล้านตัน และเถ้าชานอ้อยที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยใบอ้อยสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ถ่านอัดก้อน ส่วนเถ้าชานอ้อยมีคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
โครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อย เป็นความร่วมมือที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และพลังงานทดแทน โดยเน้นการใช้พลังงานที่ผลิตได้ภายในประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ลดฝุ่น PM 2.5 และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนเกษตรกร ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนระดับชุมชน
ทั้งนี้เป็นการสนับสนุนจากภาครัฐโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ โดยตั้งเป้าลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ให้เหลือ 0% ภายในปี 2566/2567 เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในปี 2565/2566 เป็นจำนวน 8,319.74 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการตัดอ้อยสดป้อนเข้าสู่โรงงานน้ำตาลทราย ตันละ 120 บาท ซึ่งมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดป้อนเข้าสู่ โรงงานน้ำตาลทราย จำนวน 125,548 ราย มีปริมาณอ้อยสดส่งโรงงาน 67.60 ล้านตัน
อีกหนึ่งนโยบายรัฐบาล ที่ได้ส่งเสริมและสนับสนุน คือ โครงการส่งเสริมสินเชื่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย โดยในปี 2565 - 2567 ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นปีละ 2,000 ล้าน เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยซื้อ เครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการตัดอ้อย การผลิตอ้อย การขนส่ง รวมทั้งระบบการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย ใบอ้อยและชานอ้อยเป็นวัสดุการเกษตรที่เหลือจากการผลิตน้ำตาล ซึ่งเป็นวัสดุการเกษตรที่มีความสามารถสูง ในการแปรรูป ชานอ้อยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวลภาค เกษตรกรรม ประเทศไทย
โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้วางแนวทางการกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้
+ การศึกษาแนวทางและออกแบบผลิตภัณฑ์ .ศึกษาวรรณกรรมเพื่อกำหนดเป้าหมายและรูปแบบผลิตภัณฑ์ รวบรวมข้อมูลเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาต้นแบบ ออกแบบกระบวนการผลิต 5 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบ การผสม การอัดแท่ง การลดความชื้น และการบรรจุภัณฑ์ สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 2 รูปแบบ และทดสอบและปรับปรุงต้นแบบให้ได้มาตรฐาน
+ การพัฒนาชุมชนต้นแบบ สำรวจและคัดเลือกชุมชนเหมาะสม ถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 100 คน รวมถึงเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสริมชุมชนให้บริหารจัดการการผลิตได้อย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผลิตภัณฑ์ใหม่ จากใบอ้อยและเถ้าชานอ้อยที่มีคุณภาพ ชุมชนต้นแบบสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ ลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากการเผาอ้อย เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เกษตรและรายได้ครัวเรือน
โครงการนี้มุ่งเน้นผลักดันให้เกิดธุรกิจพลังงานทดแทนระดับชุมชน สร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร และนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ยั่งยืน พร้อมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี