ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ครั้งที่ 50/2567 โดยนำข้อสั่งการของ รมว.ศธ. แจ้งต่อที่ประชุมเพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานที่ได้สั่งการไปแล้ว โดยมี นายพัฒนะ พัฒนทวีดล, นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ผู้อำนวยการเขตตรวจราชการ ผู้อำนวยการสำนักต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ และผ่านระบบ Zoom meeting
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ กล่าวว่า วันนี้ตนได้เน้นย้ำผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เรื่องการดูแลช่วยเหลือโรงเรียนในภาคใต้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,733 โรงเรียน ในพื้นที่ 10 จังหวัด 29 เขตพื้นที่ฯ และ 13 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ โดยจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลืออุทกภัยภาคใต้ (14 จังหวัด) และได้สั่งการทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้มีการเยียวยาในเบื้องต้น ทั้งการจัดส่งถุงยังชีพให้กับนักเรียนและครูที่ประสบภัย การจัดสรรเงินช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงอนุญาตให้สถานศึกษาที่มีความพร้อมสามารถเปิดเป็นแหล่งพักพิงให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และประชาชนที่เดือดร้อนในพื้นที่ได้ โดยประสานงานกับทุกภาคส่วนในจังหวัดทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ส่วนท้องถิ่นในการให้ความร่วมมือดูแลผู้ประสบภัย และหลังจากน้ำลดแล้วก็จะมีทีมฟื้นฟูลงไปเยียวยาช่วยเหลือ เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ในวันนี้กระทรวงศึกษาธิการนำโดย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีการเปิดตัวระบบย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี Teacher Rotation System (TRS) ซึ่งตนได้กำชับให้ทุกเขตพื้นที่ฯเตรียมพร้อมบุคลากรที่จะรองรับในเรื่องการใช้งานระบบนี้ เพื่อให้การย้ายครูดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ตามนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ รมว.ศธ. รวมถึงให้เขตพื้นที่และสถานศึกษา แจ้งให้ครูรับทราบว่ามีระบบ TRS แล้ว ขอให้ครูที่ประสงค์จะย้าย เข้ามาเรียนรู้การใช้งานระบบ ซึ่งจะช่วยลดภาระครูได้ อยู่ที่ไหนก็สามารถยื่นคำร้องได้ ไม่ต้องเดินทางไปยังเขตพื้นที่ฯ ช่วยลดภาระในการเดินทาง และทำให้ระบบมีความโปร่งใส เป็นธรรมอีกด้วย
“สุดท้ายคือ การติดตามเด็กให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา OBEC Zero Dropout “พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง” ซึ่งในภาพรวมของ สพฐ. มีตัวเลขเด็กตกหล่นกว่า 6 แสนคน โดยจากการรายงานในที่ประชุม พบว่า สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 สามารถดำเนินการติดตามได้ครบ 100% เป็นต้นแบบให้กับเขตพื้นที่อื่นๆ ในการเร่งรัดติดตามเด็กในพื้นที่ของตนเองได้ ซึ่งขณะนี้ทุกเขตพื้นที่กำลังดำเนินการค้นหาเด็กที่ตกหล่นอย่างเข้มข้น เพื่อให้เด็กทุกคนได้กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษา ตามนโยบาย Thailand Zero Dropout ของรัฐบาล ซึ่งหากเด็กไม่กลับมาเรียน เราก็จะนำการเรียนไปให้น้อง เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กเข้าถึงการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในทุกพื้นที่” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี