nn เนื่องจากมีการพูดกันมากว่าโครงการอุโมงค์ยักษ์โครงการล่าสุด ที่กำลังก่อสร้างเริ่มจากบริเวณไม่ใกล้ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยศรีปทุมมุ่งหน้าลงใต้ไปออกบางซื่อระยะทาง 10 กิโลเมตรกว่านั้น สามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมกรุงได้จริงหรือ
nn ซึ่งถ้าพูดตามหลักการของการเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง กทม.ในอดีตไม่นับก่อนปี 2500 แน่นอน กทม.มักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังอยู่นานวันเมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ยุคที่ พล.ร.อ.เทียม มกรานนท์ เป็นผู้ว่าฯกทม.ช่วงดังกล่าวถนนใน กทม. หลายสาย เช่น เพชรบุรี, รามคำแหง, ลาดพร้าว หรือแม้แต่วิภาวดีรังสิต ก็มีสภาพเป็นคลองทั่วหน้า ซึ่งวันนั้น “ไผ่ฎำ” นักข่าวไร้อันดับ ยังเรียกขานสภาพถนนที่ถูกน้ำท่วมเล่นๆ กับเพื่อนสื่อด้วยกันบางคนว่า “คลองปู่เทียม” เนื่องจากถนนมีสภาพเป็นคลอง และเป็นคลองยาวนานหลายวันมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ชื่อว่ามีน้ำท่วมหนักจุดหนึ่ง เพราะสภาพพื้นที่โดยรวมเป็นแอ่งกะทะก็จมอยู่นานนับ 14-15 วัน สร้างปัญหาให้นักศึกษาประชาชนทั่วหน้า และวันนั้นเอง พล.ร.อ.เทียม มกรานนท์ ผู้ว่าฯกทม.ทุบโต๊ะว่า ถึงเวลาแล้วที่ กทม. ต้องคิดป้องกันน้ำท่วมถาวรให้เป็นระบบ ถึงแม้โครงการป้องกันน้ำท่วมถาวรจะไม่ได้พูดถึงเอ่ยถึงการขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำลงเจ้าพระยา แต่ต้องยอมรับว่าอดีต ผู้ว่าฯ เทียม มกรานนท์ เป็นคนแรกที่สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ของ กทม.เสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบนั่นแปลว่าพิมพ์สำนึกมีอยู่ในใจแล้ว
nn รวบรัดตัดความลุล่วงถึงปี 2528 ยุค “มหามื้อเดียว” (พล.ต.จำลอง ศรีเมือง) เป็นผู้ว่าฯกทม.ต้องยอมรับว่า ท่านมหามื้อเดียว เอาจริงเอาจังกับการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง มีการกวดขันตอกย้ำให้เจ้าหน้าที่ประจำประตูระบายน้ำ เดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง ขณะมีฝนตกหนัก คูคลองต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ช่วงนี้มีการพูดถึงการขุดเจาะอุโมงค์เป็นครั้งแรก (พูดกับไผ่ฎำในรถขณะที่ท่านแอบไปตรวจสอบประตูระบายน้ำหลายแห่ง) ว่าสมควรลงทุน ทว่า กทม.วันนั้นงบประมาณประจำปีน้อยมาก จึงมีข้อจำกัด ที่สำคัญรัฐบาลเองก็ยังไม่เห็นความสำคัญกับโครงการดังกล่าวเท่าไหร่นัก ถึงยุค ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าฯกทม.ที่หลงใหลรักสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เดินเครื่องอุโมงค์ส่งน้ำใต้ดินถือเป็นสาระที่จับต้องได้เพราะพูดกันมากและกว้างขวางว่า ทางรอดของ กทม. ให้พ้นน้ำท่วมขังนั้นมี 2 ทาง ประการแรกปรับปรุงท่อระบายน้ำคร่ำครึหลายแห่งให้เป็นท่อใหญ่ เพื่อระบายน้ำได้รวดเร็วขึ้น ตรงนี้ว่ากันว่ากลายเป็นทฤษฎีนำไปสู่บทสรุปการวางแผนขุดเจาะอุโมงค์ยักษ์ แนวทางดังกล่าวอดีตผู้ว่าฯกทม. พิจิตต รัตตกุล ทำควบคู่กับการรณรงค์รักษาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้นไม้ล้านต้นก็กำเนิดขึ้นครั้งแรกเช่นกัน โครงการอุโมงค์ยักษ์ถูกเขียนแปลนจริงจังช่วงปลายผู้ว่าฯ พิจิตต และผลักดันเต็มสูบเต็มพลังเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนจากอดีตผู้ว่าฯกทม. นามว่า สุขุมพันธ์ุ บริพัตร nn
ไผ่ฎำ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี