วันที่ 13 มกราคม 2568 เพจเฟซบุ๊ก "NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ" ได้ เผยแพร่ภาพดาวอังคารช่วงใกล้โลกที่สุด โดยบันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา วันที่ 12 ม.ค. ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร มองเห็นพื้นผิวของดาวอังคาร รวมถึงเมฆที่ปกคลุมภูเขาไฟอีลิเซียม (Elysium Mons) และน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วเหนือได้อย่างชัดเจน
หลังจากนี้ ดาวอังคารจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 16 มกราคม 2568 ช่วงนี้จึงจะยังคงเห็นดาวอังคารปรากฏสว่างเด่นเป็นประกายสีส้มแดงตลอดทั้งคืน เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเช้าวันถัดไป นับเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การชมดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง โดยปรากฏการณ์จะเริ่มตอนพระอาทิตย์ตกดินจนรุ่งเช้าของวันที่ 13 มกราคม โดยที่เชียงใหม่ สดร.จัดกิจกรรมรองรับตั้งแต่ 18.00-22.00 น. มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากทั้งผู้ใหญ่ เด็ก ที่มากันเป็นครอบครัวตั้งแต่หัวค่ำท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นอุณหภูมิเฉลี่ย 14-16 องศาฯ
เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรีและอยู่ใกล้โลกมาก เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่นๆ อย่างดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุกๆ 2 ปี 2 เดือน และจะโคจรเข้าใกล้โลกอีกครั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี