ที่สนามยิงปืนตำรวจภูธรภาค 4 จ.ขอนแก่น ผศ.พนมกร ขวาของ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาจารย์สุธา ลอยเดือนฉาย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นทีมนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ได้นำแผ่นกันกระแทกจากกัญชงกับพลาสติกมามอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนจาก กก.สส.ภ.จว.หนองบัวลำภู และสืบสวนภาค 4 จำนวน 30 ตัว
โดยมีการออกแบบที่แตกต่างจากเสื้อเกราะทั่วไป ซึ่งทีมนักวิจัยได้ออกแบบมา ในรูปแบบของกระเป๋าเป้สะพายหลังพกพาง่าย เหมาะกับงานสืบสวนที่จะต้องแฝงตัวปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ให้ใครรู้ว่าเป็นตำรวจ พร้อมนำแผ่นกันกระสุน ซึ่งผลิตจากกัญชงกับพลาสติก มาการทดสอบประสิทธิภาพ ด้วยการทดลองใช้กระสุนจริงยิงใส่ ซึ่งในการทดสอบนั้นมาตรฐานของแผ่นกันกระสุนหากภายใน 5 นัด ชุดเกราะไม่ทะลุ หรือมีรอยนูนขนาดใหญ่จนเข้าถึงร่างกายผู้สวมใส่ ถือว่ามีประสิทธิภาพป้องกันที่สามารถใช้งานในสถานการณ์ได้จริง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ได้ใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนขนาด 9 มม. ยิงเข้าใส่ จำนวน 3 นัด และใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนขนาด.45 มม.ยิงใส่อีกจำนวน 2 นัด โดยกระสุนเข้าเป้าทุกนัด ซึ่งนัดแรกนั้นเป็นกระสุนขนาด 9 มม. พบว่าไม่ทะลุและไม่มีรอยนูนที่ด้านหลังชองแผ่นดังกล่าว และนัดที่ 2 เป็นกระสุนขนาด .45 มม. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขนาด 9 มม. โดยจากการทดสอบพบว่ากระสุนเข้าไปประมาณ 3 มม.แต่ไม่ทะลุ และไม่มีรอยนูนจากแผ่นด้านหลัง หลังทดลองยิงจำนวน 5 นัด แต่กระสุนไม่ทะลุ และรอยนูนที่แผ่นดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ไม่สร้างความเสียหายหรือบาดเจ็บให้กับผู้สวมใส
พ.ต.ท.สุรัตน์ วันทะมาตร รอง ผกก.สส.สภ.ท่าพระ ที่ชมการทดลองการใช้อาวุธปืน 2 ชนิดยิงแผ่นกันกระแทกจากกัญชงกับพลาสติก ที่นำมาใช้เป็นเสื้อเกราะกันกระสุน และรับมอบเสื้อเกราะกันกระสุนจากทีมอาจารย์นักวิจัย กล่าวว่า การทดสอบอาวุธปืน 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 9 มม. และ .45 ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบและประเมินในครั้งที่ 1 ด้วยกระสุนขนาด 9 มม. พบว่าด้านหลังของแผ่นเกราะไม่มีการทะลุของกระสุน และมีข้อดีสำคัญคือ การปูดออกของแผ่นเกราะมีปริมาณน้อย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากสรีระของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เมื่อแผ่นเกราะไม่มีการปูดออกมาก ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่กระสุนจะกระแทกบริเวณซี่โครงของเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น
อาจารย์สุธา ลอยเดือนฉาย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. กล่าวว่า แผ่นกันกระแทกและเสื้อเกราะกันกระสุนที่ทำสำเร็จครั้งนี้ มีขนาด10x12 ถือเป็นขนาดมาตรฐาน ที่ออกแบบมาป้องกันส่วนสำคัญของร่างกาย โดยทีมวิจัยใช้ต้นกัญชงและพลาสติก ซึ่งเมื่อการทำวิจัยสำเร็จก็ได้ทำการทดลองของแผ่นเสื้อเกราะจากใยกัญชงและพลาสติก โดยมีผลทดสอบเป็นที่น่าพึงพอใจ และบริจาคให้พื้นที่ ตร.ภูธรภาค 4 เพราะเป็นศูนย์กลางที่รับผิดชอบหลายจังหวัด จึงมอบให้ตำรวจชุดสืบสวน ที่เป็นตำรวจผู้เผชิญเหตุ เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เสื้อเกราะรุ่นนี้ มีกระเป๋าอย่างดีที่บรรจุแผ่นกันกระสุน ซึ่งประเมินราคาที่ตัวละ 8,000 บาท ซึ่งถือว่า เสื้อเกราะจากใยกัญชงและพลาสติกที่ทีมนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.ทำสำเร็จเป็นทีมแรกของประเทศไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี