PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน กรมการข้าว ใส่ใจแก้ปัญหา ชวนลดและงดการเผาตอซังฟางข้าว
หลายพื้นที่ในภาคเหนือ ยังคงเผชิญวิกฤติฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับที่ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (การจัดอันดับ World’s Best Awards ของนิตยสารทราเวล แอนด์ เลซเซอร์ ปี 2559) ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน สาเหตุหลักคือ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
กรมการข้าว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) “ชาวนายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ลดและงดการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ เพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืน” ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกษตรกร เข้าร่วมงานฯกว่า 5,000 คน
งานฯ ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าวอย่างปลอดภัยด้วยการจัดการตอซังและฟางข้าว ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อปลอดการเผา และผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ศูนย์ข้าวชุมชน smart farmer ชาวนาอาสา ผู้นำองค์กรชาวนา และประชาชนทั่วไป
ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วิธีการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตลอดจนให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการงดเผาตอซังและผลิตข้าวอย่างปลอดภัย เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จนเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว
กรมการข้าว ได้ร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ให้เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเผา ที่จะสามารถช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ “นาแปลงใหญ่” เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิต และบริหารจัดการผลิตข้าว มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ กลุ่มเกษตรกรให้มีความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ห่วงโซ่การผลิตข้าวแบบเดิม โดยการผสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่เริ่มการจัดการการเพาะปลูกข้าว ไปจนถึงการตลาด โดยกระบวนการรับรองการผลิตข้าวมีทั้งการรับรองรายเดี่ยวและการรับรองแบบกลุ่ม ซึ่งการขอการรับรองแบบกลุ่มนั้น จะช่วยประหยัดงบประมาณและเวลา สร้างความเข็มแข็งและความยั่งยืนในการผลิตให้กับ กลุ่มเกษตรกร ที่ผ่านมากรมการข้าว ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เกษตรกรเผาฟางข้าว จึงมอบหมายให้สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ คิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกษตรกรไม่เผาฟาง จึงได้คิดค้นจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ที่ช่วยในการย่อยสลายตอซัง และฟางในนาข้าว โดยมีประสิทธิภาพ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 7-10 วัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับนาข้าว ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้สูงสุด 20% - 30% เพื่อให้เกษตรกรหยุดการเผาไร่นา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ กรมการข้าวได้ถ่ายทอดวิธีการปลูกข้าวให้แก่เกษตรกร โดยเป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดการน้ำในแปลงนาที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้น้ำได้ตามความต้องการของข้าวในแต่ระยะการเจริญเติบโต โดยปล่อยให้น้ำแห้งตามธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศที่ดี กระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยเทคนิคการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งดังกล่าว สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาค่ามลพิษทางอากาศ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ที่เป็นปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิต และมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี