ผอ.สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยืนยันแผ่นดินไหวที่ปายเกิดจากรอยเลื่อนเวียงแหงที่อยู่ติดกับปาย ส่งผลกระทบให้เกิดแผ่นดินไหวรวมไปถึงอาฟเตอร์ช๊อค รวม 16 ครั้ง แต่ไม่รุนแรงยิ่งไหวถี่ยิ่งทำให้ผลกระทบน้อยลง เตือนประชาชนหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะเตียงและห้ามใช้ลิฟล์เด็ดขาด
วันที่ 20 ม.ค.68 เมื่อเวลา 15.20 น.นายสมชอบ ชัยพรม ผอ.สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เกิดจากรอยเลื่อนเวียงแหงที่อยู่ติดกับอำเภอปาย ล่าสุดตรวจพบแผ่นดินไหวทั้งหมด 16 ครั้ง โดยเมื่อเวลา 13.39 น.วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.2 ริกเตอร์ สูงสุดเมื่อเวลา 23.57 น.ของวันที่ 19 ม.ค.68 วัดได้ 3.4 ริกเตอร์ลึกลงไปในดิน 1 กม.ส่วนใหญ่จุดเกิดเหตุอยู่ลึกไปในดิน 1 กม. เป็นแผ่นดินไหวครั้งแรกในแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีสถานีตรวจวัดที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน
โดยเหตุการณ์ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 21.05 น.ของคืนวันที่ 19 ม.ค.2568 ความลึก 1 กม.ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงแรงสั่นไหวในพื้นที่ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ความเสียหายยังไม่มี แต่มีความรู้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวรวมทั้งอาฟเตอร์ช๊อคจำนวน 16 ครั้ง การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวเนื่องจากอยู่ในแนวเขตรอยเลื่อนเวียงแหง ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะทำให้เกิดความรุนแรงน้อยลง ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหว จะไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ จะรับรู้เมื่อเกิดขึ้นเท่านั้นก็ให้ประชาชนที่อยู่ในอาคารหาที่หลบภัย ห้ามใช้ลิฟล์ ให้ใช้บันได โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาถ้าอยู่ในสถานที่ศึกษา ให้หมอบใต้โต๊ะเป็นการเบื้องต้นก่อน
สำหรับรอยเลื่อนมีพลัง 15 แห่ง ประกอบด้วย
รอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย เชียงใหม่
รอยเลื่อนแม่อิง จ.เชียงราย
รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก
รอยเลื่อนเมย จ.ตาก กำแพงเพชร
รอยเลื่อนแม่ทา จ.เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย
รอยเลื่อนเถิน จ.ลำปาง แพร่
รอยเลื่อนพะเยา จ.พะเยา เชียงราย ลำปาง
รอยเลื่อนปัว จ.น่าน
รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี
รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี กำแพงเพชร อุทัยธานี ตาก
รอยเลื่อนระนอง จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ พังงา
รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย จ.สุราษฏร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต
รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ เลย
รอยเลื่อนแม่ลาว จ.เชียงราย
สำหรับรอยเลื่อนเวียงแหง เมื่อปี 2562 กรมทรัพยากรธรณี ประกาศเป็นรอยเลื่อนมีพลังแห่งที่ 16 ของไทย อยู่ในชื่อ “กลุ่มรอยเลื่อนเมืองแหง” ประกอบด้วย รอยเลื่อนเวียงแหง, รอยเลื่อนปาย, รอยเลื่อนเชียงดาว และรอยเลื่อนไชยปราการ วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ บริเวณใกล้ชายแดนประเทศเมียนมา จาก อ.เวียงแหง ถึง อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร พบอัตราการเคลื่อนตัวระยะยาว 0.11 มิลลิเมตรต่อปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี