ในการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นั้นมีกฎหมายเฉพาะคือ พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526
ซึ่งมีหลักสำคัญคือจะต้องเข้าเกณฑ์องค์ประกอบในมาตรา 5 ซึ่งระบุไว้ว่า
มาตรา 5 คดีใดที่ได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า
(1) พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคําพิพากษา ถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
(2) พยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตาม (1) ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคํำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าเป็นพยานหลักฐาน ปลอมหรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง หรือ
(3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นํามาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด
ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวแบ่งเป็นรายละเอียดสำคัญคือ
1. สาเหตุแห่งการยื่นขอพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งมีหลักสำคัญ อาทิ พยานหลักฐานปลอม พยานบุคคลเบิกความเท็จโดยผู้ที่นำพยานหลักฐานปลอมหรือพยานบุคคลที่เบิกความเท็จนั้นภายหลังได้ถูกดำเนินคดีและคำพิพากษาในคดีเรื่อง เกี่ยวกับความเท็จนั้นได้ถึงที่สุดและมีคำพิพากษาลงโทษผู้นำพยานปลอมเข้าสำนวนหรือผู้เบิกความเท็จนั้นแล้ว รวมถึงมีพยานหลักฐานใหม่และพยานหลักฐานใหม่นั้นเป็นพยานสำคัญในคดีที่จะเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำพิพากษา
2. ผู้มีสิทธิ์ยื่น ในกฎหมายได้เปิดช่องให้ผู้มีสิทธิ์ยื่นเป็นฝ่ายจำเลย ไม่ว่าจะเป็นตัวจำเลยเอง ผู้แทนของจำเลยกรณี จำเลยเป็นนิติบุคคล ผู้แทนโดยชอบธรรม อาทิ บิดามารดา รวมถึงผู้สืบสันดาน รวมถึงพนักงานอัยการ
ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกฎหมายดังกล่าวไม่เปิดช่องให้ฝ่ายผู้เสียหาย เป็นผู้ยื่นขอพิจารณาคดีใหม่ เว้นแต่พนักงานอัยการจะเป็นผู้ยื่น คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เองซึ่งยังไม่ค่อยปรากฏ
แต่หากในลักษณะคดีที่มีการกระทำสำนวน โดยมิชอบเพื่อให้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากเดิมไป เพื่อประโยชน์ของฝ่ายจำเลยหรือบุคคลใดก็ตาม ผู้ที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นย่อมต้องรับผิดในกรณีฐานละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นคนละกรณีกับการยื่นร้องขอพิจารณาคดีใหม่ เว้นแต่กรณีที่คดียังอยู่ระหว่างสอบสวนหรือยังสอบสวนไม่เสร็จ ฝ่ายผู้เสียหายสามารถนำพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์การกระทำที่ถูกต้องและเป็นความจริงเข้าสู่สำนวนได้หรือร้องขอความเป็นธรรมเพื่อเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
สำหรับคดีของคุณแตงโมซึ่งมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วในข้อหาประมาทนั้น คงเป็นโจทก์ยากในกระบวนการ แต่ก็เป็นที่จับตามองของประชาชนในสังคมจำนวนมากว่า ในกรณีเกิดเหตุดังกล่าวกระบวนการยุติธรรมจะมีการแก้ไขหรือพัฒนากฎหมาย หรือลงโทษกับผู้ที่กระทำโดยไม่ชอบ(ถ้ามี) อย่างไร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี