คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจัดอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) ภายใต้โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมผลักดันอาหารไทยให้เป็นหนึ่งใน Soft Power ระดับโลก ภายใต้นโยบาย “One Family One Soft Power (OFOS)” ของรัฐบาล โดยศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการตอบรับและมีผู้เข้าอบรมกว่า100 คน รองศาสตราจารย์ ดร.สาคร ชลสาคร คณบดีคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ เผยว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ทางสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จัดตั้งศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อจัดอบรม On-Site หลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) ภายใต้โครงการ หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย เพื่อ THAI Soft Power และอุตสาหกรรมอาหารไทย อย่างยั่งยืน สร้างคนสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจ เพื่อประเทศไทย มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้กับผู้เข้าอบรมให้ได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาผู้ประกอบอาหารไทย สมรรถนะที่สำคัญในวิชาชีพและหลักสูตรจากสถาบันการศึกษา และสมรรถะผู้ประกอบอาหารไทยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
ผศ.อรวรรณ พึ่งคำ หัวหน้าสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านอาหารไทยผู้รับผิดชอบโครงการ เผยว่า ทางศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจัดฝึกอบรมให้กับผู้ฝึกอบรม เน้นการเรียนในศาสตร์พื้นฐานของอาหารไทย ความเป็นไทยที่ปรากฏอยู่ในอาหารแบบต่างๆ เรียนรู้เทคนิค พื้นฐานของการประกอบอาหารไทย เพื่อสร้างพื้นฐานการเป็น Master Chef อาหารไทยที่ดี ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติอาหารประเภทนั้นๆ ได้อย่างแท้จริง โดยการเตรียม และปฏิบัติเป็นรายบุคคลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของอาหารแต่ละจาน ตลอดจนสามารถจัดการการผลิตอาหาร ทั้งแบบการทำต่อจานและการทำอาหารปริมาณมากให้เหมาะสมทั้งเวลาและคุณภาพจำนวนรายการอาหารที่เรียน 75 รายการ เช่น ต้มยำกุ้งไข่พะโล้ ผัดกะเพรา ผู้ที่ผ่านการอบรมได้รับประกาศนียบัตรในหลักสูตร ผู้ประกอบอาหารไทยมืออาชีพ
น.ส.นารีรัตน์ ทับทิม เจ้าของธุรกิจภูพร้อมดาวฟาร์มสเตย์ ผู้เข้าร่วมอบรม เผยว่าปัจจุบันทำธุรกิจฟาร์ม ภูพร้อมดาวฟาร์มสเตย์เป็นที่พัก และแปรรูปอาหารต่างๆ ใน อ.เทพสถิตจ.ชัยภูมิ โดยทางฟาร์มได้รับรางวัลเกียรติยศ “SME Soft Power Star ปี 2567” จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อทราบข่าวโครงการสนใจที่จะเข้ารับการอบรม เพื่อเรียนรู้และเทคนิคต่างๆ ในการทำอาหารให้ได้ตำหรับเป็นของตนเอง ความรู้ที่ได้หลากหลายเมนู ตลอดจนเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำอาหารให้ได้รสชาติที่ดี และการเลือกวัตถุดิบเพื่อชูให้รสชาติดีและอร่อย นำมาใช้ในฟาร์มต่อไป
ทางด้าน น.ส.จิราวรรณ อบมาลี นักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มทร.ธัญบุรี เผยว่า เป็นโครงการที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยโบราณ ได้ฝึกฝนฝีมือ และยังสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปประกอบอาชีพในอนาคต และยังมีเกียรติบัตรไว้เป็นผลงานการันตีอีกด้วยการอบรมได้เรียนรู้การประกอบอาหารไทยโบราณของทุกภาคทักษะ การจัดการเวลาในการประกอบอาหารและการทำงานเป็นทีม นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด สามารถประกอบอาหารไว้รับประทานกับครอบครัว ประกอบอาชีพ และยังสามารถสร้างเป็นธุรกิจอีกด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี