หลังเสร็จสิ้นภารกิจบินสำรวจและเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศภายใต้โครงการ ASIA-AQ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ทีมประเทศไทยโดย GISTDA และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงเดินหน้าศึกษาวิจัยข้อมูลต่างๆ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับ NASA อย่างต่อเนื่องและล่าสุดได้มีการจัดงาน ASIA-AQScience Team Meeting โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึง GISTDA เข้าร่วมและได้มีพบกับทีมนักวิทยาศาสตร์จาก NASA นำโดย James H. Crawford และนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ASIA-AQ เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ในเบื้องต้น
ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในการประชุม ASIA-AQ Science Team ซึ่งพบว่า การเผาชีวมวล (Biomass Burning) เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษจากฝุ่นละอองในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานหลายประการ รวมถึงปริมาณละอองลอยอินทรีย์ (Organic Aerosol) ปฐมภูมิและทุติยภูมิที่วัดได้จากอุปกรณ์บนเครื่องบินของ NASA ตลอดจนสารประกอบในบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ รวมถึงการข้อมูลการตรวจวัดภาคพื้นดินที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจากสหพันธ์สาธารณรัฐเกาหลีในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วง ASIA-AQ Campaignอีกด้วย
ขณะที่มลพิษทางอากาศในกรุงเทพฯ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ร่วมกับการเผาชีวมวล ซึ่งความแตกต่างกันของแหล่งที่มาเหล่านี้ เน้นย้ำให้เห็นความจำเป็นในการเข้าใจถึงความแตกต่างของการเกิดมลพิษในระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดการวางกลยุทธ์ในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมทั้งนี้ การทำความเข้าใจในแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศต้องมีความระมัดระวังในการแยกแยะละอองลอยจากแหล่งกำเนิดโดยตรง และละอองลอยทุติยภูมิ ซึ่งเบื้องต้นในช่วง ASIA-AQ Campaign พบว่า PM2.5ส่วนใหญ่เป็นละอองลอยที่ผ่านปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และควันเก่าจากการเผาชีวมวล เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการเผาไหม้
ด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการGISTDA กล่าวว่า ตลอดระยะเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา GISTDA ได้ร่วมมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มาจากหลายหน่วยงาน และได้ทำงานกับ NASA อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในประเทศไทย โดยผลการวิจัยเหล่านี้จะอยู่ในรายงานที่ GISTDA-NASA จัดทำร่วมกัน และมีกำหนดจะเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และในระหว่างนี้การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สาธารณะเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตของมลพิษทางอากาศในประเทศไทยที่มาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และผลการวิจัยที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี