ไทย-ญี่ปุ่น เปิดตัวขบวนรถไฟพิเศษ SRT Royal Blossom ‘ออนซอนอีสาน สำราญวิถี’ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนรถไฟขบวนพิเศษ SRT Royal Blossom ‘ออนซอนอีสาน สำราญวิถี’ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวในสายภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน ไปยังสถานีรถไฟหนองคาย โดยใช้เวลาเดินทางรวมการท่องเที่ยวเป็นเวลา 10 ชั่วโมง 40 นาที
ซึ่งขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษนี้ เป็นขบวนรถไฟที่ได้รับการพัฒนาจาก ‘JR-Hamanasu’ จากเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบและสร้างสรรค์ให้กลายเป็นขบวนรถไฟท่องเที่ยวด้วยฝีมือวิศวกรและช่างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ขบวนรถไฟสายพิเศษนี้มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ และออกแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวร่วมกับภาคีเครือข่ายและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และชุมชนท่องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้ง ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
รศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Research Utilization; RU) จึงได้สนับสนุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพช.) โดย แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งได้ออกแบบการจัดสรรทุนออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มการท่องเที่ยวมูลค่าสูงและกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ในส่วนของกลุ่มการท่องเที่ยวมูลค่าสูงได้มีการสนับสนุนประเด็นย่อยต่างๆ ได้แก่ การยกระดับการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โครงการวิจัยนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างทั้งสองกลุ่มหลัก คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมกับส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (low carbon tourism)
โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ดำเนินการพัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ซึ่งการดำเนินงานพบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย และนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางไปสัมผัสประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในเส้นทางรถไฟ จนเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวจากเมืองหลักไปสู่เมืองน่าเที่ยว ตามนโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND นำไปสู่การกระจายรายได้อย่างทั่วถึง
- 026
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี