จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับองค์กรวินร็อค อินเตอร์แนชั่นแนล แถลงผลการดำเนินโครงการหยุดเผาลุ่มน้ำชี หลังลงพื้นที่ปฏิบัติการ 4 เดือน 4 จังหวัด พบจุลินทรีย์เป็นทางเลือกที่จะช่วยลดการเผา ลดฝุ่น PM2.5 และ ช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต พร้อมเดินหน้าเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้หลีกเสี่ยงการเผาตอชัง
ที่สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายยุทธพร พิรุณสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว โครงการหยุดเผาลุ่มน้ำชี (ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม) โดยมีนายวิลเลี่ยม สปาร์กส์ ผู้อํานวยการโครงการเรน พร้อมด้วย ดร.ชนากานต์ พุธโธ กุพชกะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โครงการเรน, รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุลผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn นักวิชาการ เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานแถลงข่าว
นายวิลเลี่ยม สปาร์กส์ ผู้อํานวยการโครงการเรน เปิดเผยว่า ปัญหาฝุ่นควันพิษ PM2.5 ต้นเหตุสำคัญมาจากการเผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว เป็นปัญหาของภาคเกษตรไทยและต่อสาธารณสุขในระดับประเทศ โครงการความร่วมมือระหว่างภูมิภาคด้านนวัตกรรมการเกษตร (USDA Thailand Regional Agricuture Innovation Network : RAIN) หรือโครงการเรน จึงมีแนวคิดในการเข้ามาสนับสนุนแก้ไขปัญหาดังกล่าวและขับเคลื่อนการใช้ผงจุลินทรีย์ย่อยสลายตอชังข้าวของเกษตรกรที่ทำนาปรังเป็นทางเลือกแทนการเผาโดยได้ทำ “โครงการหยุดเผาลุ่มน้ำชี” ที่จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรมให้หลีกเสี่ยงการเผาตอซัง ด้วยการใช้ผงจุรินทรีย์ ซึ่งผงจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายตอซังได้ภายในระยะเวลา 14 วัน ทันเวลาให้ชาวนาเตรียมพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกครั้งต่อไป และช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมต่อเกษตรกรแทนการเผา และเสริมนโยบายของรัฐบาลในการลดปัญหาฝุ่นควันพิษ PM2.5 จากภาคการเกษตร โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาชาวนากว่า 6,000 คน ได้เข้าอบรมและนำผงจุลินทรียไปใช้ โดยโครงการฯ ต้องการให้ชาวนาใช้ผงจุลินทรีย์แทนการเผาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการความร่วมมือที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคม
ดร.ชนากานต์ พุธโธ กุพชกะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โครงการเรน, กล่าวว่า โครงการดังกล่าว โครงการเรนได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ Food for Progress ของกระทรวงเกษตรแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) และดําเนินการโดย องค์การวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล มุ่งอํานวยความสะดวกในการนํานวัตกรรมที่เท่าทันภูมิอากาศมาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทําให้ตลาดทางการเกษตรในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้น ซึ่งจากการฟังเสียงของประชาชนหลังจากที่ทดลองใช้จริง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ แค่ทักไปบอกเขาก่อนแล้วเราจะไปดูได้ไหม พอใจกับการใช้ผงจุลินทรีย์และต้องการเป็นตัวแทนส่งต่อให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ซึ่งโครงการเรน มีเป้าหมายส่งเสริมนวัตกรรมเท่าทันภูมิอากาศ 30 รายการ ให้กับเกษตรกร 30,000 ราย ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง และพืชสวน ภายในพ.ศ. 2570 และโครงการเรนจะจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเท่าทันภูมิอากาศระหว่างประเทศของ USDA ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาดังกล่าวด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี