โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ทสจ.กาฬสินธุ์ อำเภอห้วยผึ้ง สำนักงานเกษตรมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สมาคมชาวไร่อ้อยฯ ผู้นำชุมชน เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมรณรงค์ การตัดอ้อยสด แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ก่อนเข้าสู่โรงงาน ขานรับนโยบายภาครัฐลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5
ที่แปลงชาวไร่เขตส่งเสริมอ้อยที่13 นายสานิตย์ สุริฉาย ต.หนองอีบุตร อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงาน ทสจ.กาฬสินธุ์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สมาคมชาวไร่อ้อยกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมรณรงค์ การตัดอ้อยสด แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างยั่งยืน โดยการบริหารจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่แบบ MitrPhol ModernFarm ประจำปี 2568 ซึ่งมีผู้บริหารจังหวัด นายอดุลย์ ครองเคหัง ผู้อำนวยการด้านอ้อยโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ นายวิทยา ปัญจมาตย์ ผอ.ทสจ.กาฬสินธุ์ นายคมกริช ไตรยศ เกษตร จ.กาฬสินธุ์ ฝ่ายปกครองอำเภอห้วยผึ้ง ส่วนราชการ ผู้นำชุมชน เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม
นายอดุลย์ ครองเคหัง ผู้อำนวยการด้านอ้อยโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ กล่าวว่า โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ มีชาวไร่คู่สัญญา จำนวน 11,000 ราย มีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด 326,000 ไร่ ครอบคลุมจ.กาฬสินธุ์และจ.ร้อยเอ็ด โดยจ.กาฬสินธุ์ มีชาวไร่คู่สัญญา จำนวน 6,300 ราย มีพื้นที่ปลูกอ้อย 135,000 ไร่ ชาวไร่มีรายได้ จากการขายอ้อย 1,450 - 1,500 บาทต่อตัน มีการจ้างแรงงานในภาคการเกษตรมากกว่า 15,000 ครัวเรือน สร้างรายได้ให้กับชาวไร่อ้อยและชุมชน มีเงินหมุนเวียนมากกว่า 13,000 ล้านบาท
นายอดุลย์ กล่าวต่อว่า ในปีการผลิต 2567/68 โรงงานฯมีเป้าหมายการนำอ้อยเข้าหีบ 2.9 ล้านตัน ปัจจุบันมีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 1.97 ล้านตัน มีปริมาณอ้อยสดจำนวน 1.48 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 75.13 ซึ่งโรงงานฯมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนตัดอ้อยสด สะอาด และมีคุณภาพ จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ BIG ROCK KALASIN MODEL ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จ.กาฬสินธุ์
นอกจากนี้ยังได้มีการขยายผลจากโครงการ รณรงค์ ตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วม ตัดอ้อยสด ลุ้นรับเสื้อ นะโม ตัดสด ครอบคลุมในทุกพื้นที่ และมีการจัดซื้อเครื่องสางใบอ้อยทั้งหมด 186 เครื่อง โดยได้สร้างการรวมกลุ่มชาวไร่ใช้เครื่องสางใบอ้อย คิดเป็นพื้นที่ตัดอ้อยสด จำนวน 93,000 ไร่ ปริมาณอ้อย 1 ล้านตัน ส่งเสริมการรวมแปลงเกษตรแปลงใหญ่ โดยสร้างการรวมกลุ่มใช้รถตัดอ้อยจำนวน 81 คัน สามารถตัดอ้อยได้ จำนวน 100,000 ไร่ ปริมาณอ้อย 1.1 ล้านตัน อีกทั้งส่งเสริมเครื่องอัดใบอ้อย พร้อมรับซื้อใบอ้อย จำนวน 1 แสนตันต่อปี ในราคา 900 บาทต่อตัน
นายอดุลย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการรณรงค์และสาธิตเครื่องสางใบอ้อย ใช้แรงงานตัดอ้อยสด การตัดอ้อยโดยใช้รถตัด และการอัดใบอ้อยเข้าสู่โรงงาน และเพื่อรับทราบนโยบายภาครัฐ และผลกระทบจากการเผาอ้อยก่อนตัด ใบอ้อยหลังเก็บเกี่ยว ตลอดจนเศษวัสดุทางการเกษตร ที่มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการสร้างการมีจิตสำนึกในการตัดอ้อยสด ตอบรับนโยบายภาครัฐในการลดฝุ่นละอองPM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องชาวไร่อ้อย และประชาชนในชุมชนพื้นที่ด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี