ศธ.-สพฐ.รับมอบอาคารพระครูโสภณภาวนานุสิฐ ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา6 จ.ลพบุรี
7 กุมภาพันธ์ 2568 พลตำรวงเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีรับมอบอาคารพระครูโสภณภาวนานุสิฐ จากพระครูโสภณภาวนานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิ์ทอง โดยมี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวต้อนรับ และ ว่าที่ร้อยตรี ธนู วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์พิธีรับมอบอาคารพระครูโสภณภาวนานุสิฐ มีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำศธ. และโฆษกศธ. นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ผอ.สศศ.) พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี หน่วยบริการโคกเจริญ
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน กล่าวว่า กระผมมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานฝ่ายมราวาสในการมอบอาคารพระครูโสกณภาวนานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิ์ทอง จำนวน 1,700,000 บาทพระคุณเจ้ามีความเมตตาและเห็นความสำคัญของการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจ ส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาที่หน่วยบริการใกล้ ๆ บ้าน อีกทั้งท่านพระครูได้สละทรัพย์ แรงกาย แรงใจ เพื่อก่อสร้างอาคารหลังนี้ โดยไม่ได้เปิดรับบริจาค ซึ่งเป็นการให้โอกาสทางการศึกษา ส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
ทางด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีภารกิจส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส มีสถานศึกษาในสังกัด คือ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนเฉพาะความพิการ และ ศูนย์การศึกษาพิเศษ รวมทั้งสนับสนุนการศึกษาเรียนรวมในโรงเรียนปกติทั่วไป ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการ "จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน" อาทิเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น
ศูนย์การศึกษาพิเศษ มีทั้งหมด๗ จังหวัด เป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัยแก่เด็กพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ ซึ่งส่วนมากตั้งอยู่ในอำเภอเมือง มีความยากลำบากต่อการเดินทางของพ่อแม่ผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานไปเข้ารับการศึกษา จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษให้ครอบคลุมทุกอำเภอ โดยได้รับการสนับสนุนอาคารสถานที่จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพธู) หน่วยงานราชการในสังกัดอื่น ๆ หรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายลดภาระของครูและศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี มีหน่วยบริการครอบคลุมทั้ง 11 อำเภอ สำหรับหน่วยบริการโคกเจริญ เริ่มแรกได้รับความอนุเคราะห์จากโรงเรียนอนุบาลโคกเจริญ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลทบุรี เขต 2 โดยอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคารเรียน โดยนักเรียนที่มารับบริการ มีนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านทางร่างกาย จำนวน 2 คน ในทุก ๆ วัน ที่นักเรียนมารับบริการ คุณครูต้องช่วยอุ้ม ชึ้น - ลง
ต่อมาท่านพระครูโสภณภาวนานุสิฐได้รับทราบ ด้วยความเมตตาที่ท่านมีต่อนักเรียนและคุณครู ประสานย้ายพื้นที่จัดตั้งหน่วยบริการโคกเจริญแห่งใหม่ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ที่ว่าการอำเภอโคกเจริญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ใช้พื้นที่บริเวณ ลานจอดรถดับเพลิงเก่าหลังที่ว่าการอำเภอโคกเจริญ และมอบหมายนายช่างขององค์การบริหารส่วนตำบลยางราก จัดทำแบบรูปรายการอาคาร ขนาดความกร้าง 17 เมตร ยาว 22 เมตร และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จากความร่วมมือของทหาร ครู ชาวบ้าน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ช่วยกันปรับพื้นที่ ผูกเหล็กเทปูน ฉาบผนัง ทาสี จนถึงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งนับเป็นวันแรกที่ความสุขความรักของทุกคนได้เริ่มต้นขึ้น ณ ที่แห่งนี้
อาคารพระครูโสภณภาวนานุสิฐ ปัจจุบันได้เพิ่มเติม ห้อง Sensory Room หรือห้องกระตุ้นประสาทสัมผัส ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียน มีนักเรียน 23 คน ข้าราชการ 2 คน พนักงานราชการ 1 คน พี่เลี้ยง 3 คน
“ผมมั่นใจว่า ภายใต้นโยบายของ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบบูรณาการ จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการพัฒนาหน่วยบริการทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบให้เข้มแข็ง ยังยืน มั่นคง ต่อไป“
โอกาสนี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. กล่าวตอนท้ายว่า ขอกราบขอบพระคุณ ประธานฝ่ายสงฆ์และคณะสงฆ์ ท่านพระครูโสภณภาวนานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิ์ทอง จังหวัดลพบุรี ขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนทุกภาคส่วนต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือ ทำให้เห็นว่า การจับมือไว้แล้วไปด้วยกัน จากทุกภาคส่วนของจังหวัดลพบุรี เกิดการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นตัวอย่างของความเสียสละ มุ่งมั่น ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาที่กำหนดไว้ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ กระผมยินดีสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งและมีคุณภาพอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
009
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี