สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS จัดนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมการแพทย์ไทย ในระหว่างงานประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 28 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สปสช. สนับสนุนผลงานของนักวิจัยและบริษัทไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำนวัตกรรมที่ได้รับการบรรจุในบัญชีนวัตกรรมไทยเข้าสู่สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการแพทย์ในราคาที่เหมาะสม ทั้งยังช่วยลดต้นทุนบริการสุขภาพ สร้างตลาดให้กับนวัตกรรมไทย เสริมสร้างศักยภาพของ SME ให้มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดาผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กล่าวว่า TCELS ได้ร่วมกับสปสช. ในการสนับสนุนนวัตกรรมการแพทย์ไทยให้สามารถขยายตัวในเชิงพาณิชย์ พร้อมกับการสร้างประโยชน์ต่อสังคม 1.รากฟันเทียมที่พัฒนาโดยมูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ทำให้ผู้ป่วยกว่า10,000 คน เข้าถึงบริการฝังรากฟันเทียมภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ดำเนินการเมื่อเดือน ต.ค. 2565 จากที่ผู้ป่วยไม่สามารถจ่ายให้กับรากฟันเทียมนำเข้า ซึ่งมีราคาประมาณ 50,000-120,000 บาทต่อซี่
2.ชุดตรวจพยาธิใบไม้ตับสำเร็จรูปชนิดเร็ว (OV-ATK) ที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งสามารถตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับได้ภายใน 15 นาที ป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งเป็นมะเร็งที่อันตรายถึงชีวิต 3.แผ่นปิดกะโหลกศีรษะผลิตจากไทเทเนียมเข้าสู่สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเดือนก.ย. 2566 ที่ผ่านมา
โดยนวัตกรรมนี้พัฒนาโดยบริษัทเมติคูลี่ จำกัด ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และมหาวิทยาลัยมหิดล และมีผู้ป่วยที่ต้องการกะโหลกศีรษะเทียมมากถึง 7,000-20,000 คน ทั้งยังมีสิทธิประโยชน์แผ่นปิดกะโหลกศีรษะผลิตจาก ผลิตจากวัสดุ Polymethy lmethacrylate ด้วยการพิมพ์ 3 มิติคิดค้นโดยบริษัท คัสตอมไมซ์ เทคโนโลยีจำกัด ทำให้ลดเวลาและเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดกะโหลกศีรษะ 4.วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ พัฒนาโดยบริษัทไบโอเนท ได้บรรจุเข้าสิทธิประโยชน์บัตรทองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เมื่อเดือนมิ.ย. 2566
5.ถุงทวารเทียมพัฒนาโดยบริษัท โนวาเทค เฮลธ์แคร์ ได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์มาตั้งแต่เดือนต.ค. 2561 6.เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกบรรจุเข้าสู่สิทธิประโยชน์เมื่อเดือนมีนาคม 2567 ทำให้คนพิการสามารถเข้าถึงเท้าเทียมที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีคุณสมบัติและความอ่อนนุ่มคล้ายคลึงกับเท้าธรรมชาติ และ 7.ถุงทวารเทียม ที่ได้มีการผลิตและกระจายใช้ในผู้ป่วยในระบบบัตรทองแล้ว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี