ชลประทานตราดตรวจสอบพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง พบนายทุน-ชาวบ้าน รุกพื้นที่เกือบ 100 ไร่ ส่วนใหญ่ปรับพื้นที่ ‘ปลูกทุเรียน’ มาแล้วกว่า 3 ปี เบื้องต้นเตรียมยึดพื้นที่คืนพร้อมดำเนินคดี
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิภัทร ลาภอุดม หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการชลประทานตราด ร.ท.พินิจ กิจเพียร ผบ.ร้อย ทพ.นย (ฐานบ้านเขาพลู) พร้อมทีมงานและทหาร เดินทางตรวจสอบพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด หลังเพจ Space ป่าตะวันออก ออกมาแฉมีการบุกรุกที่ดินภายในอ่างเก็บน้ำปลูกทุเรียน
โดยเข้าตรวจสอบพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด 3 จุด โดยจุดแรกเป็นฝั่งทิ้งใต้ของอ่างเก็บน้ำ เป็นพื้นที่เขา มีการปรับพื้นที่จากสภาพป่า ปลูกทุเรียน มีอายุประมาณ 3-4 ปีแล้ว เมื่อตรวจสอบพิกัดตามแผนที่ของชลประทานตราด พบว่า พื้นที่บุกรุกจุดนี้ไม่พบว่าบุกรุกพื้นที่ของชลประทานตราด และอาจจะในพื้นที่บุกรุกของหน่วยราชการหน่วยงานอื่น ซึ่งจะต้องประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบความชัดเจออีกครั้ง
จุดที่ 2 ฝั่งทางทิศตะวันตกของอ่างเป็นพื้นที่เขา มีเสาหลักปักขอบเขตแสดงพื้นที่ชลประทานตราด แต่ภายในพื้นที่พบการบุกรุก ปลูกทุเรียน ปลูกกล้วย ปลูกมะละกอ และมีขนำอยู่บนเขาอยู่ 1 หลัง โดยจุดนี้ พบว่า เป็นบุกรุกพื้นที่ชลประทานจริง จึงเก็บข้อมูลเบื้องต้น เพื่อดำเนินการตรวจยึดและหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป
นายโอภาส อายุ 55 ปี เจ้าของพื้นที่จุดที่ 2 ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองปรับพื้นที่ทำการเกษตรมานานกว่า 3 ปีแล้ว ตามคำแนะนำของน้อง เนื่องจากน้องซื้อมานานหลายปีแล้ว อีกทั้งยังได้รับคำนำจากชลประทานว่า ให้ทำได้ในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งตนเองไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่บุกรุก แต่หากต้องถูกจับ จะต้องพูดคุยกันหลายฝ่าย เพื่อหาทางออก เพราะชาวบ้านเขาทำกันมาหลายปีแล้ว
และจุดสุดท้ายทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าง พบมีการบุกรุกพื้นที่ชลประทานมากเกือบ 100 ไร่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นกลุ่มนายทุนรายใหญ่ เนื่องจากสภาพป่าเดิมถูกปรับพื้นที่เป็นสวนทุเรียนทั้งหมด รวมไปถึงพื้นที่เกาะกลางน้ำ ก็ถูกบุกรุกปรับเป็นสวนทุเรียนทั้งหมด และขณะที่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบยังว่า สวนทุเรียน ยังคงมีการปรับปรุงพื้นที่ทำสวนอยู่ นอกจากนี้ยังพบตัวอาคารบ้านพัก อีก 2 หลังสำหรับดำเนินกิจกรรมของสวนแห่งนี้ เบื้องต้นจุดนี้ พบการบุกรุกพื้นที่ชลประทานทั้งหมด
นายนายอภิภัทร ลาภอุดม หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการชลประทานตราด จากการตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมดแล้ว พบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ชลประทานจริง วันนี้ได้จับจุด GPS และภาพถ่ายทางอากาศ นำไปประกอบเป็นหลักฐาน เพื่อเตรียมเข้าตรวจยึดพื้นที่คืนต่อไปพร้อมดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่บุกรุกต่อไป ส่วนคำกล่าวอ้างจากชาวบ้านที่อ้างว่าชลประทานตราด อนุญาตให้ชาวบ้านเข้ามาทำประโยชน์ในพื้นที่ชลประทานได้นั้น ไม่เป็นความจริง ไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนของชลประทานตราด จะอนุญาตให้เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะได้ เพราะพื้นที่สาธารณะต้องเป็นพื้นที่ของส่วนร่วม และขอเตือนประชาชนที่กำลังจะบุกรุกพื้นที่สาธารณะว่า อย่าไปหลงเชื่อว่าพื้นที่เหล่านี้มีการซื้อขายกันได้ หรือมอบพื้นที่สาธารณะให้ทำกินได้ ไม่มีใครสามารถยึดครองเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งได้
สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง ความจุอ่าง 36.80 ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 39,000 ไร่ ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 5 ตำบล 2 อำเภอ
- 026
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี