นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส.กล่าวว่า ในปี 2566 มีจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ดูแลของ สวพส.8 จังหวัด มากถึง 7,836 จุด ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในระดับสูง ซึ่งทุกภาคส่วนจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ และที่เห็นเป็นประจำทุกปี คือการพ่นน้ำ การดับไฟป่า การจัดทำแนวกันไฟ และอีกหลายๆ กิจกรรม จากปัญหาดังกล่าว สวพส.ได้ขยายองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งการทำการเกษตรแบบไม่เผา โดยการจัดพื้นที่รายแปลงที่เหมาะสม เน้นการใช้พื้นที่น้อยให้มีรายได้มาก ใช้พืชผักที่ขายได้ในราคาสูงและทำได้ตลอดทั้งปี สวพส.ได้ดำเนินงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการปลูกไม้ผลและกาแฟใต้ร่มเงาในพื้นที่ป่า และการประสานกับหน่วยงานภาคีในการช่วยเหลือชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีวิถีชีวิตที่ดีและพอมีพอกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีเวลาที่จะดูแลป่าไม้ที่อยู่รอบชุมชนมากขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ทำการเกษตรที่มีไม้ยืนต้น ไม่บุกรุกทำลายป่า โดยการทำเกษตรแบบไม่เผา ส่งผลให้ในปี 2567 นี้ จุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่การดูแลของ สวพส.8 จังหวัด รวม 5,137 จุด ลดลงถึง 34% เมื่อเทียบกับปี 2566
สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขง ต.แม่หลอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ดำเนินการโดย สวพส.ถือเป็นต้นแบบสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรให้สอดคล้องกับธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย สวพส.เริ่มดำเนินงานด้วยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวงที่เน้นการพัฒนาพื้นที่สูงในทุกมิติ ตั้งแต่การทำเกษตรกรรมที่ไม่เผา การจัดการพื้นที่แปลงเกษตรอย่างเหมาะสม ไปจนถึงการปลูกพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องพึ่งพาการเผา ในปี 2567 พื้นที่ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขงพบจุดความร้อน (Hotspot) เพียง 1 จุด ชุมชนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างสมดุล มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถทำเกษตรกรรมที่สร้างรายได้ให้ตลอดทั้งปีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“การดำเนินงานของ สวพส.ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่สมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน แต่ยังสะท้อนถึงความสำเร็จในการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การอยู่ร่วมกันระหว่างคนและป่าอย่างกลมกลืน ซึ่งสิ่งนี้เป็นความตั้งใจของ สวพส.ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีเป้าหมายในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชนบนพื้นที่สูงต่อไป” นายวิรัตน์ กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี