พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 24ในประเด็นเกี่ยวกับการสมรส มีผลบังคับใช้ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 24 กันยายน 2567 ซึ่งในรายละเอียดภาพรวมผู้เขียนได้เคยนำมาเปรยไว้ในตอนที่แล้ว
สำหรับตอนนี้ผู้เขียนจะหยิบยกประเด็นเรื่องสินสมรส ขึ้นมาเป็นข้อสังเกตซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ( กฎหมายที่แก้ไขใหม่นั้นจะใช้คำว่าคู่สมรส ไม่ได้ใช้คำว่าสามีภรรยาเช่นเดิม) โดยภาพรวมของกฎหมายดังกล่าวนั้น หากคู่สมรสไม่ได้ทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินไว้ก่อนสมรส การจัดการทรัพย์สินจะใช้หลักการตามกฎหมาย โดยแบ่งแยกทรัพย์สินออกเป็นสองประเภท (มาตรา 1475)
กรณีสินส่วนตัว เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประกอบอาชีพ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา และของหมั้น
กรณีสินสมรส คือทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ ซึ่งระบุว่ายกให้เป็นสินสมรส และดอกผลของสินส่วนตัว
หากเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้ตามปกติ แต่หากเป็นสินสมรสถือเป็นเจ้าของร่วมกันและต้องจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การขายหรือจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย
นอกจากนี้คู่สมรสจะต้องจัดการทรัพย์สินร่วมกันหรือได้รับความยินยอมในนิติกรรมดังต่อไปนี้
- ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าซื้อ จำนอง ปลด จำนองหรือโอนสิทธิ์จำนอง ในอสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้
- ก่อตั้งหรือทำให้สิ้นสุดทั้งหมดหรือบางส่วนในภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
- ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
- ให้กู้ยืมเงิน
- ให้โดยเสน่หาเว้นแต่ให้ตามฐานานุรูป
- ประนีประนอมยอมความ
- มอบของพิพาทให้อนุญาตโทรตุลาการวินิจฉัย
- นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล (มาตรา 1476)
อีกทั้ง คู่สมรสมีสิทธิ์ฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเพื่อสงวนรักษาบำรุงสินสมรส หนี้ที่เกิดจากการฟ้องต่อสู้หรือหนี้ดังกล่าวให้ถือเป็นหนี้ที่คู่สมรสต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกัน (มาตรา 1477)
ในกรณีที่คู่สมรสมีความซับซ้อนหรือมีรายละเอียดที่มาของทรัพย์สินส่วนตัวเป็นจำนวนมากนั้น ควรจะมีการทำสัญญาก่อนสมรสระบุให้ชัดเจนว่าให้ทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสและให้ทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัวซึ่งป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดมีขึ้นได้ในอนาคต
นอกจากนี้ควรพิจารณารายละเอียดในมาตรา 1490 ซึ่งกำหนดให้หนี้ที่คู่สมรสเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ได้แก่ หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนหรือสิ่งจำเป็นในครอบครัว หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสนี่ที่เกิดจากการงานที่คู่สมรสทำด้วยกันหนี้ที่คู่สมรสอีกฝ่ายให้สัตยาบัน ซึ่งเป็นหนี้ที่หากเกิดขึ้นภายหลังสมรสและเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้วคู่สมรสจะต้องรับผิดตามกฎหมายด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี