เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการพัฒนาสุานศึกษาต้นแบบศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้ เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน (LEARN TO EARN TO SCHOON MODEL FOR SUSTAINABILITY) และมอบนโยบายการจัดการเรียนการสอน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 1/2568 ที่จังหวัดสงขลา โดยมี ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ผอ.สศศ.) พร้อมคณะผู้บริหารหน่วยจัดการศึกษา จ.สงขลา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ตรวจราชการ ศธ. เขต 5 และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม และมี นางสาวชมพูนุท สนสกุล ผอ. โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา กล่าวรายงานการดำเนินการจัดการศึกษา
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายให้มาตรวขเยี่ยมติดตามรับฟังการแก้ปัญหาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ส่วน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ก็ลงตรวจเยี่ยมการศึกษา จ.สตูล และ จ.พัทลุงแล้ว และจากการตรวจเยี่ยมโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญาวันนี้ นักเรียนได้รับการฝึกทักษะวิชาชีพเพื่อให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้และต่อยอดเป็นอาชีพมีรายได้ และได้มารับฟังการดำเนินขีบเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาตามนโยบายรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นว่าทุกหน่วยงานตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Thailand Zero Dropout นโยบายลดภาระครู ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง โครงการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันของกลุมโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งถึงว่าจังหวัดสงขลาบริหารจัดการศึกษาได้ดี
ซึ่งโรงเรียนสงขลาปัญญาพัฒนา ถือเป็นศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างรายได้สู่ความยั่งยืน ส่งเสริมทักษะการมีงานทำสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียน ครูมีความรู้มีทักษะในด้านของอาชีพ นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพทั้งระหว่างเรียนและจบการศึกษาได้
รมช.ศธ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนยังได้รับฟังรายงานการจัดการศึกษาในพื้นที่สงขลา เพราะถือเป็นศูนย์จัดการศึกษาระดับภาคใต้ ซึ่งภาพรวมการวัดผลทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน โรงเรียนกลุ่มจังหวัดสงขลา มีคะแนนสูงกว่าในกลุ่มภาคใต้ และระดับประเทศ แต่กลับพบว่าในวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนทดสอบลดลงทุกปี 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนและเร่งผลักดันให้การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ขยับเพิ่มสูงขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ แม้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองใหญ่มีโรงเรียนยอดนิยมจำนวนมาก แต่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังมีอยู่ ซึ่งเกิดจากสภาพเศรษฐกิจและภูมิสังคมของจังหวัดสงขลา จึงทำให้เกิดเด็กหลุดระบบการศึกษา โดยจังหวัดสงขลามีเด็กหลุดระบบการศึกษา 23,681 คน และได้แก้ปัญหาด้วยการปูพรมค้นดึงเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ครบ 100% นอกจากนี้ ยังพบการรายงานตัวเลขเด็กหลุดระบบการศึกษา ซึ่งส่วนหนึ่งพื้นเพของครอบครัวประชาชนในจ.สงขลาประกอบอาชีพหาปลา และเด็กจะต้องออกไปหาปลาช่วยผู้ปกครอง ดังนั้นเราเล็งที่จะทำโรงเรียนมือถือ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสได้เข้าถึงระบบการศึกษาอย่างทั่วถึง ตอบโจทย์เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
"นอกจากนี้ รมว.ศธ.กำลังทำเรื่องไปถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ทบทวนระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเรื่องเงินอุดหนุนรายหัวของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เนื่องจากระเบียบฉบับดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขการสนับงบประมาณด้านการศึกษาของ อบจ.ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ กำหนดไว้ว่า โรงเรียนที่อบจ.ให้การสนับสนุนนั้น ทางโรงเรียนจะต้องมีงบสมทบ 25% ซึ่งเรามองว่าหากเป็นกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กคงไม่สามารถหางบฯมาสมทบได้ เพราะโรงเรียนขนาดเล็กก็แทบจะไม่มีงบอุดหนุนใช้บริหารจัดการเพียงพออยู้แล้ว ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าว รมว.ศธ.ได้รับเสียงสะท้อนจากพื้นที่ ดังนั้น จึงต้องการให้กระทรวงมหาดไทยทบทวนเพื่อขอให้ ทางกร้ฃะทรวงมหาดำทยปลดล็อคเงื่อนไขฉบับนี้ เพื่อให้ อบจ.ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กได้ เพราะมีอบจ.หลายแห่งอยากที่อยากสนับสนุนโรงเรียน เช่น อบจ.นนทบุรี ก็อยากสนับสนุนการศึกษา" นายสุรศักดิ์ กล่าว
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี