ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) เปิด “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์” ประจำปีงบประมาณ 2568 แบบเคาะประตูบ้าน
วันนี้ (24 ก.พ.68) ที่ศูนย์สาธิตการควบคุมไฟป่า ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี นายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)เป็นประธานในพิธีเปิด“ “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีนายประวัฒน์ พวงทอง ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า ในนามคณะผู้จัดกิจกรรม กล่าวรายงาน มีนายศิวะปกรณ์ วิเชียรเพริศ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี นายไชยวุฒิ อารีชน ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 (ราชบุรี)นายมานะ เพิ่มพูล. ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) รวมถึงนางสาวจีรวรรณ วรพิสุทธิวงศ์ ปลัดปลัด อบต.ช่องสะเดา นางละออ ภู่ประดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 บ้านท่าทุ่งนา ต.ช่องสะเดา เจ้าหน้าที่ทหารกองพลทหารราบที่ 9 เจ้าหน้าที่ทหาร กอ.รมน.กาญจนบุรี และจิตอาสาในพื้นที่ เข้าร่วม
ทั้งนี้นายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผอ.สบอ.3(บ้านโป่ง) กล่าวว่า ปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัญหาที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติ โดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบนโยบายและข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาชนการตามมาตรการด้วยความ“รวดเร็ว ตรงเป้าเข้าถึงพื้นที่ มีประสิทธิภาพสูงสุด”ดังนี้
1.การบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยง ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อ โดยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่เสี่ยงที่มีแนวโน้มเกิดไฟป่ามากที่สุด 2.การติดตามสถานการณ์ ให้มีการติดตามสถานการณ์จุดความร้อน และสนธิกำลังพลในการลาดตระเวนและเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เพื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ขยายวงกว้าง 3.การควบคุมการเข้าพื้นที่ ต้องมีการควบคุมและจำกัดการเข้าพื้นที่ป่าในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่ป่า และ 4.การทำงานร่วมกับจังหวัด ทุกหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องสนับสนุนการทำงานร่วมกับจังหวัดอย่างเต็มที่ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพสูงสุด
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงปัญหาของไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่การจัดกิจกรรมในวันนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทหาร และเครือข่ายภาคประชาชน ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ปลอดภัย
ซึ่งการแก้ไขปัญหาไฟป่าไม่สามารถทำได้เพียงแค่หน่วยงานภาครัฐเท่านั้น แต่ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชน ซึ่งสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) จะดำเนินงานตามมาตรการที่ได้มีการกำหนดไว้ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดกิจกรรม “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 24 กุมภาพันธ์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันนี้ จะสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้กับทุกภาคส่วน ได้ทราบถึงผลกระทบและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ไฟป่า ในปี 2568 ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ด้านนายประวัฒน์ พวงทอง ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า กล่าวว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 กำหนดให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า” และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ตระหนักถึงปัญหาของไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการจุดไฟเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ และการเผาไร่ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสุขภาพของประชาชน
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น ต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันของเจ้าหน้าที่ เครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และประชาชนอย่างเต็มกำลัง ทั้งการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ การประสานงาน และการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การแก้ปัญหาไฟป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไฟป่าเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดลง ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น โดยมีสาเหตุมาจากการเก็บหาของป่า การล่าสัตว์และการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรโดยไม่มีการควบคุม ส่งผลให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่า ในปัจจุบันการเกิดไฟป่าและหมอกควันในประเทศไทยมีความรุนแรงมาก จนกลายเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศ
ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ เกิดมลพิษหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและมีค่าเกินมาตรฐาน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน คือการดำเนินการทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้ประชาชนจุดไฟเผาป่า โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ของทุกภาคส่วน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี