สร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เริ่มต้น! สสส.ปลูกฝังเยาวชน รู้ทันภัยเสี่ยง สานพลังภาคี ผุดโครงการพัฒนาสื่อสอนเด็ก เรียนรู้ภัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ กัญชา สร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ขยายผลใน 517 โรงเรียน ช่วยเยาวชนเข้าใจมากขึ้น 90.37% ตระหนักถึงปัญหา 89.63% พร้อมขยายผลพัฒนาชุดสื่อสำหรับเด็กเล็กต่อไป
นายพิทยา จินาวัฒน์ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า จากรายงานการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาชนอายุ 15-24 ปี อยู่ที่ 12.7% ลดลงจาก 15.4% ในปี 2560 โดยพบนักสูบหน้าใหม่ที่สูบบุหรี่ไม่เกิน 1 ปี 211,474 คน ในจำนวนนี้ 73.7% เริ่มสูบบุหรี่ช่วงอายุ 15-19 ปี และมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 78,742 คน คิดเป็น 0.14% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 57 ล้านคน ขณะที่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปี 2547-2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 23.5-29.5% และลดลงเหลือ 20.9% หรือราว 1.9 ล้านคน ในปี 2564 พบการดื่มแล้วขับ 33.06% ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บและเสียชีวิต 25.09%ก่อความรุนแรง 24.7% และเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 17.2%
“จากสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงได้คุกคามสุขภาวะเด็กและเยาวชนไทยอย่างมาก สสส. จึงมุ่งให้ความสำคัญการป้องกันเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติด และอบายมุขอื่นๆ โดยสนับสนุนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่เด็กและเยาวชน สามารถฝึกสติผ่านการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ช่วยปกป้องเด็กจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพได้อย่างรอบด้าน” นายพิทยา กล่าว
ดร.อัญญมณี บุญซื่อ หัวหน้าโครงการพัฒนาชุดสื่อกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันจากเหล้า บุหรี่ และกัญชา สำหรับนักเรียนในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า โครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ต.ค.2566 โดยร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ตำรวจตระเวนชายแดน ได้พัฒนาชุดสื่อกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันด้านปัจจัยเสี่ยงจากเหล้า บุหรี่ สำหรับเด็กวัยอนุบาลและนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ที่สอดคล้องกับบริบทศาสนา วัฒนธรรม สังคมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำไปใช้จริงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการดำเนินงาน พบว่า ครูสามารถนำชุดสื่อไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา 89.63% นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง 90.37% มีการตระหนักถึงภัยจากปัจจัยเสี่ยง 89.63%
“นอกจากนี้ ยังได้ผลิตชุดสื่อกิจกรรมการรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงจากกัญชาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า ครูสามารถนำไปใช้ได้จริง
ในสถานศึกษา 89.63% นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง 90.37% และมีการตระหนักถึงภัยจากปัจจัยเสี่ยง 89.63% ทั้งนี้ ได้มีการขยายผลในการใช้ชุดสื่อกิจกรรมผ่านเครือข่ายโรงเรียนทุกสังกัด 517 แห่ง จากความสำเร็จส่งผลให้ต่อยอดการทำงานในประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน เนื่องจากสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นเท่าทวีคูณ การสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เด็กเล็กจะเป็นภูมิคุ้มกัน ในการสร้างสังคมปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในอนาคต และเตรียมพัฒนาชุดสื่อบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับเด็กเล็กด้วย” ดร.อัญญมณี กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี