รพ. ชี้แจงกรณีเด็ก 17 เส้นเลือดสมองแตก แม่เด็กยืนยันหมอดูแลถึงที่สุดแล้ว ไม่ขอพูดถึงอดีตสามีที่ไปร้องเรียน
เมื่อเวลา 11.30 น. ของวันที่ 7 มีนาคม 2568 ห้องประชุมประธานกาญจนาลัย อาคารผู้ป่วยนอกตึก60ปี นายแพทย์ปริญญา นาคปุณบุตร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร พญ.อังคณา อุปพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร พร้อม นพ.สำเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ิ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.กรวิทย์ วังสิริกุล ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง พว.เพ็ญกมล กุลสุ รองผู้อำนวยการด้านพยาบาล ได้ร่วมกันแถลงข่าว จากกรณี นายภาสกร (ขอสงวนนามสกุล) ผู้เป็นพ่อของนายเอ อายุ 17 ปี ได้นำหลักฐานร้องเรียนนายรณรงค์ แก้วเพชร ประธานมูลนิธิฯ หลังลูกชายปวดหัวรุนแรง แล้วพาไป รพ. บอกเป็นไมเกรน ให้กลับไปดูอาการที่บ้าน สุดท้ายเส้นเลือดในสมองแตก ต้องผ่าตัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมานั้น
ซึ่งนพ.ปริญญา นาคปุณบุตร กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจกับ ครอบครัวของนายเอ ผู้เสียชีวิตแต่จากกรณีที่บิดาได้ร้องเรียนที่มูลนิธิแห่งหนึ่งในส่วนกลางนั้น เบื้องต้นเองได้รับทราบข่าว และทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมกับรายงานให้กับผู้บังคับบัญชาทราบตามกระบวนการขั้นตอนแล้ว ซึ่งวันนี้จึงได้นำแพทย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการรักษานายเอมาร่วมแถลงข่าว เพื่อให้สื่อมวลชน สังคมได้รับทราบข้อเท็จจริง ถึงกระบวนการขั้นตอนการรักษาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของทุกฝ่าย
ด้านพญ.อังคณา อุปพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชรกล่าวว่า กระบวนการขั้นตอนการรักษานั้น ตนขอสรุปสถานการณ์โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 04.24 น. ผู้ป่วยนายเอ อายุ 17 ปี มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการปวดศีรษะ ร้าวมาที่กระบอกตา คลื่นไส้ อาเจียน 2 ครั้ง ตาพร่ามัว เห็นแสงแล้วปวดมากขึ้น ไม่มีไข้ 2 ชั่วโมงก่อนมา รพ.ตรวจพบอุณหภูมิ 36.6 องศาเซลเซียส ชีพจร 52 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 138/77 มิลลิเมตรปรอท
ตรวจร่างกายพบรูม่านตาขนาด 2 มิลลิเมตรเท่ากันทั้งสองข้าง ไม่มีแขนขาอ่อนแรง ขยับได้ปกติ ตรวจระบบประสาทและสมองไม่พบความผิดปกติ จึงวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นปวดศีรษะไมเกรน ได้รับการรักษาโดยการฉีดยาแก้ปวดเข้าทางหลอดเลือดดำ และให้สังเกตอาการ ระหว่างนั้นผู้ป่วยทุเลาปวดศีรษะนอนหลับพักได้ดี ต่อมาเมือเวลา 08:39 น.ของวันเดียวกัน พยาบาลตรวจเยี่ยมอาการ วัดสัญญาชีพ ความดันโลหิต 130/75 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 61ครั้ง/นาที หายใจ 20ครั้ง/ นาที ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด 99 เปอร์เซ็นต์ รู้ตัวดี ตามตอบรู้เรื่อง ทุเลาปวดศีรษะ จนเวลา 09:01 น. แพทย์ตรวจอาการผู้ป่วยบอกว่า แสงจ้ากระตุ้นปวดตา เบาปวดศีรษะแล้ว และเวลา 09:20 น. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำ อัตราการเต้นหัวใจ 52ครั้ง/นาที ผู้ป่วยปฏิเสธสารเสพติด เวลา 09:33 น. แพทย์ตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยและอนุญาตให้ กลับบ้านได้ การพยาบาลตรวจเยี่ยมอาการ วัดสัญญาณชีพ ความดันโลหิต 148/77 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 51 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด 98 เปอร์เซ็นต์ พูดคุยถามตอบรู้เรื่อง น.ส.สิริวิมล รักชาติ มารดาของนายโถคิน ได้สอบถามอาการและสาเหตุความเจ็บป่วยของบุตร พยาบาลรายงานแพทย์ แพทย์อธิบายเกี่ยวกับอาการ การวินิจฉัยและการปฏิบัติตัว และอาการผิดปกติที่ควรกลับมาพบแพทย์ กับน.ส.สิริวิมล มารดา ได้รับทราบและเข้าใจจึงรับยาและนำผู้ป่วยกลับบ้านโดยตลอด
จนกระทั้ง เวลา 20.07 น.ผู้ป่วยมาตรวจซ้ำด้วยเรื่องปวดศีรษะบริเวณขมับมาก กินยาแก้ปวดไม่ทุเลา ไม่มีหน้ามืดหรือใจสั่น แรกรับที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตรวสัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกาย 37.8 องศาเซลเซียส ชีพจร 60 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 134/88 มิลลิเมตรปรอท ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด 99 เปอร์เซ็นต์ ตรวจร่างกายพบรูม่านตาขนาด 2 มิลลิเมตรเท่ากันทั้งสองข้าง รู้สึกตัว ถามตอบช้า 21.05 น. มีอาการมือเกร็ง 2 ข้าง พยาบาลรายงานแพทย์ ฉีดยากันชักเข้าทางหลอดเลือดดำ คุณหมอได้ซักประวัติมารดาเพิ่มเติม แจ้งไม่เคยชักเกร็งมาก่อน ไม่มีไข้ ปฏิเสธการเกิดอุบัติเหตุ ส่งเอกซเรย์สมองพบเลือดออกในสมองด้านขวาขนาด 7.8x3x4.6 เซนติเมตร
จึงได้ปรึกษาศัลยแพทย์ผ่าตัดสมอง ทำการผ่าตัดสมองทันทีด้วยระบบช่องทางด่วน เพื่อเปิดกะโหลกศีรษะนำเลือดที่คั่งในสมองออก ใช้เวลาในการผ่าตัด เวลา 23.30-01.10 น. หลังผ่าตัดย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (ICU ) กระทั่งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 หลังผ่าตัด ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ตรวจอาการทางสมอง: เรียกลืมตา ทำตามคำสั่งได้ แขน-ขาขวาขยับได้ แขน-ขาซ้ายอ่อนแรง ต่อมาเวลา 11.30 น. มีปัญหาความดันโลหิตสูงขึ้น ความดันโลหิตค่าบน 170-190 มิลลิเมตรปรอท ชีพจรเต้นเร็ว 170-180 ครั้ง/นาที รูม่านตาข้างขวา 2 มิลลิเมตร ข้างซ้าย 5 มิลลิเมตร ตอบสนองต่อแสงช้าลง ทั้ง 2 ข้าง ทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองพบเลือดออกในสมองซ้ำบริเวณสมองด้านขวาและแกนสมอง ทำการเจาะเลือดพบ: ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง 36.9%, เม็ดเลือดขาวสูง 29,300 /uL, และเกร็ดเลือดต่ำ 58,000 /uL ตรวจร่างกายระบบประสาท ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด แขน-ขาไม่ขยับ รูม่านตา 6 มิลลิเมตร ไม่ตอบสนองต่อแสง ทั้ง 2 ข้าง
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง ผู้ทำการผ่าตัดและอายุรแพทย์ ร่วมกันพิจารณาว่าคนไข้มีปัญหาเกล็ดเลือดต่ำผิดปกติจากโรคเลือดผิดปกติ เข้าข่าย Thorobotic thrombocytopenic purpura (TTP) ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในล้านที่เกิดขึ้น ร่วมกับผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกบริเวณแกนสมอง การผ่าตัดซ้ำอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในห้องผ่าตัดมากขึ้น จึงได้ทำการรักษาโดยการให้เลือด พลาสม่า เกล็ดเลือด และฉีดยาช่วยให้เลือดหยุด และรักษาต่อโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยากันชัก ให้ยาลดความดันในศีรษะ และให้ยาลดความดันทางหลอดเลือดดำ ปรึกษาอายุรแพทย์โลหิตวิทยา รพ.สวรรค์ประชารักษ์ อาการเข้าได้กับโรคเกล็ดเลือดผิดปกติ ชนิด ดังกล่าว
แนวทางการรักษาต้องให้ Steroid หรือ ยากดภูมิชนิดฉีด แต่ผู้ป่วยเริ่มมีภาวะติดเชื้อในปอดด้านขวา เริ่มมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกกดภูมิต้านทานของร่างกาย จึงได้แนะนำให้ทำการรักษาภาวะติดเชื้อโดยการให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด คุยพยากรณ์โรคกับและทำความเข้าใจกับมารดาผู้เฝ้าลูกชายให้เข้าใจมาโดยตลอด หลังจากนั้นตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2568 รักษาต่อเนื่องโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยากันชัก ยาลดความดันในศีรษะ ยาปฏิชีวนะ ตรวจร่างกายระบบประสาท ยังเหมือนเดิม ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด แขน-ขาไม่ขยับ ทำการเจาะเลือดพบ: ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง 35.4%, เม็ดเลือดขาวสูง 29,400 /uLและเกร็ดเลือดต่ำ 51,000 /uL มีภาวะความดันโลหิตต่ำรุนแรง ให้การรักษาโดยยากระตุ้นความดัน 2 ชนิดร่วมกัน มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ทำการรักษาโดยการปรับเครื่องช่วยหายใจ บิดา (สถานะหย่าร้าง) มีความประสงค์อยากขอไปรักษา รพ.สวรรค์ประชารักษ์ ติดต่อประสานงาน รพ.สวรรค์ประชารักษ์ อายุรแพทย์โลหิตวิทยาแนะนำว่าอาการผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงมากและมีโอกาสเสียชีวิตระหว่างการส่งต่อได้ จนกระทั่ง วันที่ 5 มีนาคม เวลา 15.05 น. ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ 15.05-15.35 น. ด้วยเครื่อง Auto CPR และให้ยาตามแนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้ป่วยไม่มีสัญญานชีพกลับมา และเสียชีวิตเมื่อเวลา 15.35น.
พญ.อังคณา อุปพงษ์ อย่างกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรณีมีการร้องเรียนก็สามารถทำได้แต่อยากให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และข้อเท็จจริง โรงพยาบาลเองยังยึดหลักในการทำงานการเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ บริการทันสมัย เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งตรงนี้ได้มีการตรวจสอบการทำงานของแพทย์ทุกคนได้ยังยึดหลักในมาตรการและวิชาชีพ และโดยเฉพาะการให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการ
ด้านน.ส.ศิริวิมล คุณแม่ของนายเอที่เสียชีวิต ได้ตอบคำถามทางโทรศัพท์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเป็นผู้ที่ดูแลบุตรชาย ตลอดระยะเวลาที่นำน้องเข้ารักษาตัว ตั้งแต่วันแรกได้รับการดูแลจากคณะแพทย์พยาบาลพร้อมกับแจ้งสถานการณ์ให้ความเข้าใจมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ในขณะที่อยู่ห้องฉุกเฉินทางพยาบาลและแพทย์ ได้มีปฏิสัมพันธ์ ทำความเข้าใจอธิบายมาอย่างต่อเนื่อง แม้วันที่นำน้องกลับบ้านและเห็นว่าอยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาล จ
นกระทั่งนำย้อนกลับมาอีกครั้งในค่ำของวันเดียวกัน ทั้งในช่วงระยะเวลาของการทำผ่าตัดทางคุณหมอเองก็ได้ให้ความดูแลเอาใจใส่ โดยเฉพาะคุณหมอที่ลงมือผ่าตัดเองก็ยอมรับว่าเป็นหมอที่มีฝีมือมีประสบการณ์ในด้านนี้เฉพาะทางอยู่แล้ว จึงอาจจะเป็นบุญของลูกเราที่มีเพียงเท่านี้ จึงไม่ติดใจในกรณีลูกตนเองเสียชีวิตแต่อย่างใด ส่วนกรณีอดีตสามีของตนเองไปร้องเรียนทนายดังกล่าวตนเองไม่ขอพูดถึงดีกว่า
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี