นอกเหนือจากความรับผิดของผู้รับเหมาซึ่งเป็นเอกชนแล้วในส่วนของรัฐนั้นมีส่วนที่ต้องรับผิดด้วยคือตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งหาข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนกระทำละเมิดละเลยหรือละเว้นไม่กระทำการควบคุมการก่อสร้าง อันเป็นต้นเหตุของคานถล่มแล้ว ผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องเป็นคดีปกครองต่อหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้
ซึ่งในกรณีและพื้นที่ดังกล่าวเคยมีคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเลขที่ 2565/2566 ด้วยศาลปกครองได้มีคำพิพากษาว่าอุบัติเหตุดังกล่าว
ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย หากเจ้าหน้าที่รัฐ (กรมทางหลวง)ได้มีการจัดทำหรือระมัดระวังตามสมควรในการควบคุมหรือปฏิบัติงาน
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัญหากฎหมายแล้ว ปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงไม่ว่าจะเป็นการรับเหมาต่อหลายทอดก็ดี ปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่อง
ของผู้รับเหมาก็ดี ปัญหาความไม่พร้อมของผู้รับเหมาก็ดี รวมถึงการก่อสร้างภายใต้ความกดดันของระยะเวลาแล้วค่าปรับตามสัญญา เป็นต้น
นอกจากความเข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมายรวมถึงการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมงานเพื่อความปลอดภัยของโครงการแล้ว การบริหารจัดการโครงการ ให้มีความเสี่ยงน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมูลค่าโครงการ ระยะเวลารวมถึงการควบคุมผู้รับเหมาช่วง เป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐควรใช้เป็นข้อสำคัญในการบริหารโครงการด้วยนอกเหนือจากการใช้บังคับกฎหมายเพียงอย่างเดียว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี