ชาวตราดค้านการทางพิเศษ เลือกเส้นทาง 3 ทำทางพิเศษข้ามเกาะช้าง เหตุไม่ตอบโจทย์พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดตราด เพราะนทท.ไม่เข้าเมือง ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวภาคเศรษฐกิจ ชี้จันทบุรีจะได้ประโยชน์แทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (ผลการคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสม)งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะข้าง จังหวัดตราด ที่โรงแรมตราดซิตี้ อ.เมือง จ.ตราด ในเวลา 09.00-12.30 น.วันที่ 2 เมษายน 2568 ที่มีนายดำรงศักดิ์ ยอดทองดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และ นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการร่วมรับฟัง ท่ามกลางประชาชนชาวตราด ทั้งหน่วยงานทั้งด้านราชการ และด้านเอกชน เข้าร่วมรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 400 คน โดยก่อนหน้านี้ ได้รับฟังในเรื่องเดียวกันที่อำเภอเกาะช้าง จ.ตราด มาแล้วมและได้ข้อสรุปที่ชาวเกาะช้างเห็นด้วยในการก่อสร้างในจุดที่บ้านด่านเก่า ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ซั่งมี 5 บริษัทที่ปรึกษาร่วมสรุปผชการศึกษาในต่างๆนำโดยนายชาญวิทย์ อาจสมิติ ผู้จัดการโครงการ
โดยหลังจากที่มีการเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นแล้ว ทีทประชุมได้ชมวีทีอาร์สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาและได้ข้อสรุปที่ได้ศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม,ด้านเศรษฐกิจและความคุ้มค่า และด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ได้ข้อสรุปว่า เลือกเส้นทางก่อสร้างที่ฝั่งจังหวัดตราดที่บริเวณใกล้ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ซึ่งจะมีระยะทางที่สั้นที่สุด คือ ระยะทาง 5.9 กม. และมีค่าก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้าน สะพานมีช่องจราจร 4 ช่องทาง โดยมีระยะเวลาในการก่อสร้าง 4 ปี นับจากที่ได้ผลสรุปในเรื่องการรับฟังความคิดในครั้งสุดท้ายแล้ว จะมีปรับปรุงอีกครั้งและจำนำมาเสนอในราวปลายปี 2568
ทั้งนี้ จากการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการ โดยการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยแต่ละด้าน พบว่า แนวเส้นทางเลือกที่ 3 ได้คะแนนรวมสูงที่สุด คือ 243.26 คะแนน จากผลการศึกษาใน 4 เส้นทางนั้น มีคะแนนที่เปรียบกันใน 4 เส้นทาง ดังนี้คือ ดังนั้น แนวเส้นทางเลือกที่ 3 จึงเป็นแนวเส้นทางที่เหมาะสมของโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยมีจุดเริ่มต้นของโครงการอยู่บนทางหลวงชนบทหมายเลข ตร.4066 บริเวณ กม. 2+840 บ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด โดยแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปทางทิศใต้ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และเข้าสู่พื้นที่ทะเล จากบริเวณด้านทิศตะวันตกของท่าเทียบเรือประมงพื้นบ้านธรรมชาติล่างจากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งตรงไปที่เกาะช้าง ตัดผ่านเส้นทางการเดินเรือแล้วไปเชื่อมเข้ากับถนน อบจ.ตร.10026บริเวณ กม.5+300 ในเขตพื้นที่บ้านด่านใหม่ ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.90 กิโลเมตร
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้เสนอแนะและให้ความคิดจำนวนหลายคน ทั้งสื่อมวลชน ภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหกรรม สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมประมง จ.ตราด หอการค้า จ.ตราด และองค์กรเอกชนอื่นๆอีก รวมทั้งภาคการเมือง ประชาชนทั่วไป และชาวเกาะช้างจำนวนหนึ่งเข้ามาร่วมเวที ต่างคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับการที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทำทางเชื่อมพิเศษเริ่มที่บ้านธรรมชาติล่างติดกับท่าเรือเฟอร์รี่ เนื่องจากหากเริ่มจุดนี้ รถยนต์จะไม่ผ่านตัวเมืองตราด และไม่เกิดผลดีต่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในตัวเมืองตราด เนื่องจากผ่านมา สถิติที่นักท่องเที่ยว 2 .2 ล้านคนที่มาเที่ยวจังหวัดตราด 60-70% เดินทางไปเที่ยวเกาะช้างมะเกาะกูดเป็นหลัก ซึ่งผลดีที่เกิดกับเศรษฐกิจไม่ตกมาที่ตัวเมือง และอำเภอใกล้เคียง ซึ่งการก่อสร้างทางเชื่อมเกาะช้างจึงไม่ตอบโจทย์การพัฒนาจังหวัดตราด แต่กลับจะเกิดผลดีต่อจังหวัดจันทบุรีมากกว่า เพราะนักท่องเที่ยวทั้งขาเข้าและข้าออกจะใช้เส้นทางลัดออกจากตัวเมืองตราด และไม่จับจ่ายใช้สอยอะไรที่จะสร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราดรวมทั้งน้ำมันที่รถยนต์แต่ละคันต้องเติมกลับบ้านก็จะไปเติมทีทจังหวัดจันทบุรีมากกว่า จึงขอให้มีการทบทวนใหม่ ซึ่งผลคะแนนที่เป็นทางเลือกที่ 1 กับทางเลือกที่ 3 ห่างกันเพียง 9 คะแนนเท่านั้น ดังนั้นทางคณะที่ศึกษาการก่อสร้างทางเชื่อมเกาะช้างควรจะได้มีการศึกษาใหม่อีกครั้ง
นอกจากนี้ ทางพิเศษข้ามเกาะช้างแห่งนี้ควรเป็นอะไรที่มากกว่าเป็นสะพานข้าม แต่ควรจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่สำหรับชาวตราดหรือนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมา เพราะควรจะให้ทางเท้า หรือมีจุดพักกลางสะพานเพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อน หรือเป็นแหล่องเที่ยว อีกทั้งไม่ควรจะห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานด้วย
ด้วยเหตุผลที่ชาวตราดสะท้อนมาครั้งนี้ ทำให้ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปพิจารณาในคณะทำงานอีกครั้ง เพื่อจะได้ปรับปรุงเพื่อให้เกิดผลตามที่ชาวตราดต้องการ
ด้าน นายกาจผจญ กล่าวว่า การก่อสร้างทางพิเศษเชื่อมเกาะช้างที่มีการพิจารณาเส้นทางที่ 3 เพราะมีค่าก่อสร้างเพียง 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งการทางพิเศษมีศักยภาพในการดำเนินการด้วยตัวเอง แม้จะรู้ว่าอาจจะต้องรับภาระการขาดทุน เนื่องจากการจัดเก็บรายได้จะไม่คุมทุนอยู่ ส่วนเส้นทางที่ชาวตราดต้องการนั้น มีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงถึงเกือบ 2 หมื่นล้านหากจำเป็นต้องก่อสร้างในเส้นทางนี้รัฐบาลอาจจะต้องเข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ล่าช้า หรืออาจจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ ทั้งนร้ เส้นทางที่ 3 ในอนาคตก็อาจจะทำให้เกิดการขยายตัวได้ในภายหลังเพราะทุกอยู่ที่ผู้ประกอบการจะวางจุดยุทธศาสตร์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างไร อย่างไรก็ตาม การทางพิเศษฯจะนำข้อเสนอทั้งหมดไปพิจาณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วจะมานำเสนออีกครั้ง ///-026
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี